คำถามชวนสงสัยของเจ้าของธุรกิจมือใหม่ ปรึกษาเราเข้ามาในแฟนเพจ
ก่อนจะไปตอบคำถามนี้ เราอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจว่า นิติบุคคลคืออะไร ต่างจากบุคคลธรรมดายังไงกันก่อน
คำว่านิติบุคคล หมายถึง การจดทะเบียนเป็นบุคคลอีกคนนึงทางกฎหมายแยกออกจากตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่ที่คนนิยมทำกัน คือ การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล “บริษัทจำกัด” หรือ “ห้างหุ้นส่วนจำกัด”
อย่างเช่น นาย A มีรายได้หลายทาง จึงมีดำริว่าอยากจดบริษัท AA แยกออกจากส่วนตัว เวลาทำธุรกิจร้านซูชิกับเพื่อน
แปลว่าตอนนี้บริษัท AA ก็ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว เป็นบุคคลนึงทางกฎหมาย แยกต่างหากออกจากตัวนาย A นะ (แม้ว่าชื่อจะคล้ายกันก็ตาม555)
- บริษัท AA = นิติบุคคล
- นาย A = บุคคลธรรมดา
พอบริษัท AA และนาย A เป็นหน่วยที่แยกออกจากกันแล้ว การยื่นภาษีก็ยื่นแยกต่างหากออกจากกัน
โดยขึ้นอยู่กับว่า เรามีสถานะเป็นใคร จากตัวอย่างเดิม
- บริษัท AA = นิติบุคคล >> ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล
- นาย A = บุคคลธรรมดา >> ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แต่การยื่นภาษีในทีนี้ ก็ไม่ได้แปลว่า เราต้องจ่ายภาษีเบิ้ลสองเด้งนะ เพราะว่านิติบุคคล AA นั้นก็จะจ่ายภาษีกรณีที่มีกำไรจากธุรกิจถึงเกณฑ์ ส่วนนาย A เองก็จ่ายภาษีกรณีที่มีรายได้สุทธิ (ส่วนตัว) ถึงเกณฑ์
ฉะนั้น คำถามที่ว่า “จดนิติบุคคลแล้ว ยังต้องจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาอยู่ไหม?” เราจึงต้องทำความเข้าใจไปทีละขั้นแบบนี้
1.นิติบุคคล เป็นคนละคนกับ บุคคลธรรมดา
2.นิติบุคคล ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล ส่วนบุคคลธรรมดา ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
3.การเสียภาษีมากน้อยอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับว่านิติบุคคลและบุคคลธรรมดามีเงินได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งวิธีการคำนวณก็จะแตกต่างกันไป
พอเราเข้าใจแบบนี้ เราก็น่าจะตอบตัวเองได้ว่า แม้จะจดนิติบุคคล ยังต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดาด้วย แต่จะต้องจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไหม ก็ต้องไปดูอีกทีว่าคำนวณแล้วมีจำนวนภาษีบุคคลธรรมดาต้องจ่ายเท่าไร
เผลอๆ โชคดีอาจแค่ต้องยื่นแต่ไม่ต้องจ่ายก็ได้ใครจะไปรู้ ฮ่า
ปรึกษาปัญหาบัญชีธุรกิจ หาโปรแกรมบัญชีที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ ติดต่อ
Line: @zerotoprofit หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit