ฤดูยื่นภาษีมาถึงแล้วจ้าาา หลายคนที่ถึงเกณฑ์ยื่นภาษีอาจสับสนและมึนงงกับวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะในมุมมองของมือใหม่ เรื่องภาษีก็ดูเหมือนเป็นเรื่องยากและซับซ้อนสุด ๆ แต่ถ้าได้เข้าใจถึงหลักการจริง ๆ ล่ะก็ จะรู้ว่าการคำนวณภาษีนั้นไม่ยากอย่างที่คิดเลยค่ะ
บทความนี้จะพาทุกคนไขข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเข้าใจง่าย ๆ เพื่อให้สามารถยื่นภาษีได้ถูกต้องและตรงต่อเวลา
สูตรคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามียังไงบ้าง?
ในการคำนวณภาษีแต่ละรอบปีนั้น จะมีหลักการสำคัญก็คือ เราจะต้องหาเงินได้สุทธิให้ได้ก่อน ซึ่งมาจากเงินได้รวมทั้งหมด หักลบด้วยค่าใช้จ่าย แล้วก็หักลบด้วยค่าลดหย่อนอีกที เพราะฉะนั้น สูตรคำนวณเงินได้สุทธิก็คือ
- เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งหมด – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
เมื่อรู้แล้วว่าเงินได้สุทธิเหลือเท่าไหร่ ให้นำตัวเลขนั้นคูณด้วยอัตราภาษี ซึ่งเป็นวิธีคำนวณ ภาษีแบบขั้นบันได ก็จะได้ตัวเลขภาษีที่ต้องจ่ายจริง ๆ นั่นเองค่ะ โดยมีสูตรคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายก็คือ
- ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจจะเอะใจขึ้นมาว่า เงินได้สุทธิมีความสำคัญต่อการคำนวณภาษีขนาดนั้นเชียวหรือ? เรามาหาคำตอบในหัวข้อถัดไปกันต่อนะคะ
เงินได้สุทธิ คืออะไร?
เงินได้สุทธิ คือ รายได้ที่ใช้เป็นฐานคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเกิดจากการรายได้ทั้งหมดในปีนั้น หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน
ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า มีเงิน 3 ส่วนที่เกี่ยวโยงกัน นั่นคือ เงินได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน ซึ่งจะมีที่มาของเงินที่แตกต่างกัน ดังนี้ค่ะ
ขอยกตัวอย่างกรณี เป็นพนักงานเงินเดือนบริษัทเอกชน 3 ส่วนที่เกี่ยวโยงกัน นั่นคือ เงินได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน หมายถึง
- เงินได้ทั้งหมด มาจากรายได้ที่มาจากทุกแหล่ง เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เป็นต้น
- ค่าใช้จ่าย ก็คือ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000
- ค่าลดหย่อน ก็คือรายการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้สามารถนำไปหักออกจากเงินได้หลังจากที่หักค่าใช้จ่ายแล้ว เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าลดหย่อนจากกองทุน SSF RMF และ ThaiESG เป็นต้น
เข้าใจอัตราภาษีเงินได้ แบบขั้นบันได
วิธีคำนวณ ภาษีส่วนใหญ่จะมีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะยิ่งเพิ่มขึ้นตามระดับเงินได้สุทธิที่สูงขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมจึงนิยามว่า “อัตราภาษีแบบขั้นบันได” โดยผู้ที่เสียภาษีจะต้องเปรียบเทียบจากช่วงเงินได้สุทธิแต่ละขั้น ก็จะช่วยให้ทราบแล้วว่าจะต้องคูณด้วยอัตราภาษีกี่ % นั่นเองค่ะ
สอนวิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ขั้นตอนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากต้องการทราบว่าเราจะคำนวณวิธีไหนเพื่อจ่ายภาษีอย่างคุ้มค่าและถูกต้อง เบื้องต้นมีวิธีเปรียบเทียบ 3 ขั้นตอน ได้แก่
- วิธีคำนวณ ภาษีแบบเหมา
- วิธีคำนวณ ภาษีแบบตามจริง
- เปรียบเทียบและสรุป
โดยวิธีคำนวณ ภาษีแบบตามจริง กับวิธีคิดแบบเหมาจะมีความแตกต่างกันตรงที่ “เงินได้” ที่ใช้คำนวณค่ะ ตามกฎหมายได้จำแนกลักษณะเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท และเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ขอจัดเป็นหมวดหมู่ของเงินได้เป็นลักษณะตามด้านล่างนี้
- หมวดงานแลกเงิน = เงินเดือน (1) เงินค่าจ้าง (2)
- หมวดทรัพย์สิน = ค่าลิขสิทธิ์ (3) ดอกเบี้ย หรือเงินปันผล (4)
- หมวดลงทุน = ค่าเช่า (5) เงินจากวิชาชีพ (6) ค่ารับเหมา (7) และเงินได้อื่น ๆ (8)
เข้าใจประเภทของเงินได้แล้ว ให้เก็บไว้ในใจก่อนนะคะ
เราลองมาทำความเข้าใจตารางสรุปการหักค่าใช้จ่ายกันก่อนเลยค่ะ
ในบรรทัดประเภท เหมา จะเห็นว่าเงินได้ทุกประเภท ยกเว้น 40 (4) จะมีเกณฑ์บอกว่าสามารถหัก เป็นค่าใช้จ่าได้เท่าไหร่บ้าง
ในบรรทัดประเภท ตามจริง จะเห็นว่า 40(1) 40(2) 40(4) จะไม่มีสามารถหัก ค่าใช้จ่ายตามจริงได้
ดังนั้น เมื่อเรามีเงินได้แล้วประเด็นแรกที่ต้องพิจารณา คือ เรามีเงินได้ประเภทไหน แล้วเราถึงจะทราบว่ามีสิทธิหักค่าใช้จ่าย ตามจริง หรือว่าหักเหมานั่นเองค่ะ
หากว่าเงินได้ของเรา สามารถหักได้ทั้งตามจริง และหักเหมา เราจึงค่อยมาพิจารณาว่า เราควรจะทำวิธีไหนนั่นเอง
ขั้นตอนแรก เราจะหาจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายตามวิธีคิดอัตราภาษีแบบตามจริงก่อน ซึ่งจะคำนวณจากเงินได้ประเภทที่ 8 (เปิดร้านขายกาแฟ) และใช้วิธีคำนวณภาษีตามที่กล่าวไว้ข้างต้นได้เลยค่ะ
เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เรามีตัวอย่างโจทย์มาให้ทุกคนได้ลองทำความเข้าใจให้เห็นภาพ ดังนี้ค่ะ
สมมติว่า นางสาว B เปิดร้านขายกาแฟ มีรายได้ทั้งปี 25×1 รวม 470,000 บาท มีค่าใช้จ่ายที่ต้องหาเงินได้สุทธิ ก็คือ
- หักค่าใช้จ่าย 60% (282,000 บาท)
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว (60,000 บาท)
- เบี้ยประกันสุขภาพ (9,000 บาท)
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ช้อปดีมีคืน (2,000 บาท)
นางสาว B จะมีเงินได้สุทธิทั้งหมด
470,000−282,000−60,000−9,000−2,000 = 117,000 บาท
โดยเงินได้สุทธิที่มีจะอยู่ในช่วง ไม่เกิน 150,000 บาท ซึ่งอัตราภาษีที่ใช้คำนวณก็คือ ได้รับการยกเว้น
สรุปแล้ว ไม่มีภาษีที่ต้องจ่ายชำระ
ขั้นตอนที่สอง คือ การคิดด้วยวิธีคำนวณ ภาษีแบบตามจริงค่ะ
วิธีคิด นางสาว B เปิดร้านขายกาแฟ มีรายได้ทั้งปี 25×1 รวม 470,000 บาท มีค่าใช้จ่ายตามจริง 200,000 บาท (กรณีใช้ค่าใช้จ่ายตามจริง ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินตามข้อกำหนดของสรรพากรให้ถูกต้อง ถึงจะสามารถนำมาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้)
- หักค่าใช้จ่ายตามจริง (200,000 บาท)
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว (60,000 บาท)
- เบี้ยประกันสุขภาพ (9,000 บาท)
- ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ช้อปดีมีคืน (2,000 บาท)
นางสาว B จะมีเงินได้สุทธิทั้งหมด
470,000−200,000−60,000−9,000−2,000 = 199,000 บาท
โดยเงินได้สุทธิที่มีจะอยู่ในช่วง ไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งอัตราภาษีที่ใช้คำนวณก็คือ
เงินได้สุทธิ 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น
เงินได้สุทธิ 150,001-199,000 บาท ช่วงเงินได้สุทธิ 49,000 บาท อัตรา 5% ยอดภาษี 2,450 บาท
สรุปแล้ว จำนวนเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษีของกรณีคิดตามค่าใช้จ่ายตามจริง ต้องจ่ายภาษีจำนวน 2,450 บาท
ขั้นตอนสุดท้าย เปรียบเทียบจำนวนภาษีกัน ทั้งภาษีที่ใช้วิธีคำนวณภาษีแบบเหมา และภาษีที่คำนวณแบบตามจริง ให้พิจารณาดูว่า แบบไหนเราจะเสียภาษีอย่างคุ้มค่าและถูกต้องมากกว่ากัน และไปชำระภาษีให้เรียบร้อยค่ะ
ข้อควรระวัง หากใครที่เลือกกรณีหัก ค่าใช้จ่ายตามจริง เอกสารค่าใช้จ่ายจะต้องมีประกอบสำหรับกรณีเจ้าพนักงานเรียกตรวจสอบด้วยนะคะ
หากใครเริ่มต้นจะทำบัญชีด้วยตัวเอง แนะนำที่ลิงค์นี้เลย ทำบัญชีรายวันต้องทำอะไรบ้าง? Guideline เจ้าของธุรกิจมือใหม่
สรุป วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบเข้าใจง่าย ทำตามได้เลย
จะเห็นได้ว่า การคิดภาษีมีวิธีคำนวณภาษีประจำปีทั้งหมด 2 รูปแบบ นั่นคือ การคำนวณภาษีแบบตามจริง และหักเหมา ซึ่งจะมีอัตราภาษีที่เพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนเงินได้สุทธิที่มากขึ้น โดยจะต้องเงินได้ หัก ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีมาคิดหาเงินได้สุทธิก่อน แล้วจึงจะหาจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายด้วยการคูณอัตราภาษีเข้าไป เมื่อได้จำนวนภาษีทั้ง 2 ส่วนออกมาแล้ว พิจารณาดูว่า แบบไหนเราจะเสียภาษีอย่างคุ้มค่าและถูกต้องมากกว่ากัน และไปชำระภาษีให้เรียบร้อยค่ะ
บทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจวิธีการคำนวณภาษีมากขึ้น เพื่อให้สามารถวางแผนการเงิน และเตรียมตัวสำหรับการยื่นภาษีในแต่ละปีได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองค่ะ
หากใครคิดว่าธุรกิจที่เราดำเนินอยู่จะมัวแต่เสียภาษีของบุคคลธรรมดาไม่ได้แล้ว
คิดจะขยับขยายไปเป็นนิติบุคคล สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้เลย สรุปครบ จะเปิดบริษัท ต้องรู้อะไรบ้าง
หรือ ปรึกษาปัญหาธุรกิจ จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ติดต่อ Line: @zerotoprofit
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit