ต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ต้องทำยังไงบ้าง

ต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ต้องทำยังไงบ้าง

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น ประกอบกับที่ตั้งของประเทศไทยเรานั้น เหมาะกับการทำมาค้าขายอย่างมาก เลยไม่น่าแปลกใจค่ะว่าเมืองไทยนอกจากจะน่าท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นประเทศที่เนื้อหอม น่าลงทุนทำธุรกิจอีกด้วย

แต่การที่ต่างชาติเปิดบริษัทในไทย รวมทั้งชาวต่างชาติที่เป็นหุ้นส่วนบริษัทกับคนไทย ขั้นตอนที่แตกต่างจากการเปิดบริษัทคนไทย 100% และจะต้องทำตามกระบวนการให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ทำให้หลายคนสงสัยว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร บทความนี้มีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับ “ต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ต้องทำยังไงบ้าง” มาฝากทุกคนกันค่ะ

ต่างชาติเปิดบริษัทในไทย คืออะไร ?

คนต่างด้าวที่ไม่มีสัญชาติไทย ประสงค์ที่จะเปิดบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมทั้งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นในประเทศไทยเพื่อทำการค้า โดยจะต้องมีการจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลก่อน จัดการแบ่งการถือหุ้นให้เหมาะสม พร้อมกับปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายไทยกำหนดค่ะ

ในการจดทะเบียนบริษัทต่างชาติในประเทศไทยนั้น จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทย และชาวต่างชาติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ในหัวข้อถัดไปจะพาไปดูลักษณะการถือหุ้นของชาวต่างชาติในกรณีต่าง ๆ ว่าควรจะถือหุ้นอยู่ที่จำนวนเท่าใด ถึงจะเปิดบริษัทในไทยได้อย่างราบรื่นกันค่ะ

สัดส่วนการถือหุ้นมีแบบไหนบ้าง ?

เมื่อบริษัทของคุณมีชาวต่างชาติเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้วย เราสามารถแบ่งสัดส่วนการถือหุ้นตามกฎหมายได้ 2 กรณี โดยมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

1. คนไทยเปิดบริษัท ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49%

กรณีที่บริษัทนั้นคนไทยถือหุ้นด้วยสัดส่วนที่มากกว่า และมีต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วนที่ไม่เกิน 49% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด จะถือว่าเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย

2. ต่างชาติเปิดบริษัท ถือหุ้นตั้งแต่ 50%

ในขณะเดียวกัน หากบริษัทนั้นมีต่างชาติถือหุ้นตั้งแต่ 50% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด และมีคนไทยถือหุ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่า จะถือว่าเป็นนิติบุคคลต่างด้าวตามกฎหมาย

สำหรับบริษัทที่เข้าข่ายเป็นนิติบุคคลต่างด้าว จะต้องทำเรื่องขออนุญาตกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และดำเนินการตามเงื่อนไขที่กฎหมายไทยกำหนด โดยต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าว ห้ามถือครองที่ดินในประเทศไทย และมีข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจบางประการค่ะ

ต่างชาดติเปิดบริษัทในไทย นิติบุคคลต่างด้าวคืออะไร
นิติบุคคลต่างด้าวคืออะไร

ต่างชาติจดบริษัทในไทย ต้องทำอย่างไร ?

ก่อนจะเริ่มต้นเปิดบริษัทจะต้องทำความเข้าใจกับพ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เสียก่อน ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่ควบคุมการดำเนินธุรกิจโดยชาวต่างชาติในประเทศไทย

ต่อมา ชาวต่างชาติจะต้องรู้ก่อนว่า อยากเปิดบริษัทในรูปแบบไหน ซึ่งประกอบด้วย บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด เมื่อเลือกรูปแบบได้แล้ว ก็จะเข้าสู่การจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลโดยต่างชาติ โดยมีขั้นตอนการจดทะเบียนสำหรับต่างชาติเปิดบริษัทในไทย ดังนี้ค่ะ

1. การจองชื่อนิติบุคคล

ขั้นตอนนี้ ชาวต่างชาติต้องจองชื่อนิติบุคคลกับกรมพัฒน์ฯ มากที่สุด 3 ชื่อ โดยจะต้องไม่ซ้ำกับชื่อบริษัทอื่น จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเลือกชื่อที่เหมาะสมที่สุดกลับมาภายใน 1-3 วันทำการ และให้นำชื่อที่ได้รับอนุมัติไปยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติค่ะ

2. การเตรียมเอกสาร และการชำระค่าหุ้น

หลังจากที่ได้จองชื่อนิติบุคคลสำหรับการตั้งชื่อบริษัทกันแล้ว ขั้นตอนต่อมา ชาวต่างชาติจะต้องเตรียมเอกสารเพื่อจดทะเบียนเปิดบริษัทให้ครบถ้วน ซึ่งประกอบด้วยเอกสารต่าง ๆ ได้แก่

  • หนังสือบริคณห์สนธิ ที่มีข้อมูลของชื่อบริษัทที่ได้รับอนุมัติ สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ วัตถุประสงค์ของการเปิดบริษัท ทุนจดทะเบียน มูลค่าหุ้น จำนวนหุ้น ข้อมูลของผู้ถือหุ้น และข้อมูลของพยาน 2 คน
  • แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2
  • แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนบริษัทที่เซ็นโดยกรรมการผู้มีอำนาจ
  • ข้อบังคับของบริษัท
  • รายชื่อผู้ถือหุ้น และใบหุ้นที่ออกให้แก่ผู้ถือหุ้นทั้งหมด
  • สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท
  • สำเนาหนังสือเดินทางต่างด้าว หรือสำเนาบัตรประชาชนคนไทยของผู้ถือหุ้นทั้งหมด

นอกจากนี้จะต้องมีการชำระค่าหุ้นอย่างน้อย 25% ของทุนจดทะเบียนให้เรียบร้อยก่อนจะมีการยื่นขอจดทะเบียนบริษัท (ผู้ถือหุ้นคนไทยต้องแสดงหลักฐานว่ามีเงินจริง ไม่ใช่นอมินีต่างชาติ)

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท BBD มีทุนจดทะเบียนบริษัท 1 ล้านบาท

  • ชาวต่างชาติที่ถือหุ้น 60% = เงินลงทุน 600,000 บาท
  • คนไทยคนที่ 1 ถือหุ้น 20% = 200,000 บาท
  • คนไทยคนที่ 2 ถือหุ้น 20% = 200,000 บาท

ผู้ถือหุ้นคนไทยทั้งสองคนจะต้องแสดงยอดเงินในบัญชีกับกรมพัฒน์ฯ ว่ามีเงินจริงๆ จะใช้เทคนิคเหมือนบริษัทคนไทย จดบริษัท ไม่ลงเงินจริงแบบนี้ทำไม่ได้นะ

แต่จะมีบางกรณีที่บริษัทต้องการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) ให้กับพนักงานต่างชาติในอนาคต จะต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 2 ล้านบาท / ต่างชาติ 1 คน ค่ะ

และสำหรับต่างชาติที่อยากจดบริษัทแบบออนไลน์ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ขั้นตอนยืนยันตัวตนจะต้องไปยืนยันตัวตนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยตนเอง กรณีเป็นชาวต่างชาติให้แสดงหนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวที่ออกโดยส่วนราชการไทยที่ยังไม่หมดอายุ

3. การยื่นภาษี และใบอนุญาตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

บริษัทที่ดำเนินการโดยต่างชาติก็ถือเป็นหนึ่งในนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เมื่อบริษัทจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว จะได้เลขทะเบียนนิติบุคคลที่ออกโดยกรมพัฒน์ฯ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทนั่นเองค่ะ ซึ่งบริษัทก็ต้องนำส่งภาษีให้กับกรมสรรพากรตามกฎหมายนะ

อ่านเพิ่มเติม: จดบริษัท เสียภาษีอะไรบ้าง

รวมทั้งใบอนุญาตอื่น ๆ ที่ต้องใช้ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจว่าเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่นๆ อะไรบ้างค่ะ

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท BBD เป็นบริษัทส่งออกคอมพิวเตอร์ระหว่างประเทศ จะต้องทำเรื่องขอใบอนุญาตนำเข้า และส่งออกสินค้าจากกรมศุลกากร เป็นต้น

ต่างชาติเป็นกรรมการของบริษัทในไทย ต้องทำอย่างไร ?

  1. กรรมการต่างชาติที่มีอำนาจลงนาม หมายถึง ชาวต่างชาติที่มีสิทธิ์ลงนามเอกสารต่าง ๆ แทนบริษัทได้ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น หรือไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเลยก็ได้
  2. กรรมการต่างชาติที่ไม่มีอำนาจลงนาม หมายถึง ชาวต่างชาติที่ไม่มีสิทธิ์ลงนามแทนบริษัท แต่จะเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัทควบคู่ด้วยก็ได้

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ๆ ตามกฎหมาย พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 หากมีชาวต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 1 หุ้นขึ้นไป คนไทยที่ถือหุ้นทุกคนจะต้องแสดงบัญชีเงินฝาก เพื่อเป็นการยืนยันกับทางกรมพัฒน์ฯ เมื่อไปจดทะเบียนบริษัทว่ามีเงินจริง ๆ ไม่ใช่นอมินีของชาวต่างชาติ โดยให้ธนาคารทำหนังสือรับรองเงินฝากสำหรับผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคน และยอดเงินจะต้องมากกว่าหรือเท่ากับเงินลงทุนในบริษัทตามสัดส่วนที่ถือหุ้นไว้ค่ะ

เรื่องต้องรู้ก่อนเตรียมเอกสารจดบริษัท และมีต่างชาติถือหุ้นต้องมีอะไรบ้าง

ก่อนหน้านี้เราพูดถึงเรื่องข้อจำกัดการจดบริษัทโดยมีต่างชาติเป็นเจ้าของ (ถือหุ้นตั้งแต่ 50% ขึ้นไป) เรามาดูในรายละเอียดกันต่อนะคะ

ธุรกิจบางประเภทที่ต้องสงวนไว้ให้แก่คนไทย (ห้ามต่างชาติทำ) ตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มีธุรกิจแบบไหนกันบ้าง

  1. ธุรกิจที่ห้ามต่างชาติทำ เช่น กิจการหนังสือพิมพ์ กิจการวิทยุกระจายเสียง  การทำสวน การเลี้ยงสัตว์ การทำป่าไม้ การทำประมง และอื่น ๆ
ต่างชาติเปิดบริษัทบริษัทในไทย ธุรกิจต้องห้าม
ต่างชาติเปิดบริษัทบริษัทในไทย ธุรกิจต้องห้าม

2. ธุรกิจต้องห้าม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี

  1. ธุรกิจเกี่ยวกับความปลอดภัย และความมั่นคงของประเทศ เช่น อาวุธ ยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์สงคราม
  2. ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น การค้าของเก่า การผลิตเครื่องแกะสลักไม้ การเลี้ยงไหม การทอผ้าไหม การผลิตเครื่องดนตรีไทย เป็นต้น
  3. ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตน้ำตาลจากอ้อย การทำนาเกลือ การทำเหมือง การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้สอย
ธุรกิจต้องห้าม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
ธุรกิจต้องห้าม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี โดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี

3. ธุรกิจที่คนไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันกับกิจการของคนต่างด้าว หากจะประกอบธุรกิจ จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เช่น

  1. การสีข้าว และการผลิตแป้งจากข้าวและพืชไร่
  2. การทำประมง เฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
  3. การทำป่าไม้จากป่าปลูก
  4. การผลิตไม้อัด แผ่นไม้วีเนียร์ ชิปบอร์ด ฮาร์ดบอร์ด
  5. การผลิตปูนขาว
  6. การทำกิจการบริการทางบัญชี
  7. การทำกิจการบริการทางกฎหมาย
  8. การทำกิจการบริการทางสถาปัตยกรรม
  9. การทำกิจการบริการทางวิศวกรรม
  10. การก่อสร้าง
  11. การทํากิจการนายหน้าหรือตัวแทน
  12. การขายทอดตลาด
  13. การทํากิจการโฆษณา
  14. การทํากิจการโรงแรม
  15. การนําเที่ยว
  16. การขายอาหารหรือเครื่องดื่ม
  17. การทํากิจการเพาะขยายหรือปรับปรุงพนธั ์ุพืช
  18. การทําธุรกิจบริการอื่น ยกเว้นธุรกิจบริการที่กําหนดในกฎกระทรวง
ธุรกิจที่คนไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันกับกิจการของคนต่างด้าว หากจะประกอบธุรกิจ จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี
ธุรกิจที่คนไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันกับกิจการของคนต่างด้าว หากจะประกอบธุรกิจ จะต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี

หากชาวต่างชาติคนใดประสงค์จะประกอบธุรกิจตามข้อ 2 และ 3 ให้ทำการยื่นเรื่องขออนุญาตกับกรมพัฒน์ฯ โดยใช้แบบ ต.2 พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบ ยื่นที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ด้วยตัวเอง และต้องเสียค่าธรรมเนียมคำขอ 2,000 บาทค่ะ

สรุป

เป็นอย่างไรกันคะ สำหรับบทความนี้ จะเห็นได้ว่า การที่ต่างชาติเปิดบริษัทในไทยมีรายละเอียดปลีกย่อยที่เราต้องทำความเข้าใจให้ลึกซึ้ง และดำเนินตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เรียบร้อย เพื่อที่จะได้ทำธุรกิจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีปัญหามากวนใจในภายหลังค่ะ

ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ด้านบัญชีธุรกิจ ที่เชื่ออย่างสุดหัวใจว่า การทำบัญชีช่วยให้ธุรกิจมีกำไร ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง