ทำบัญชีรายวันต้องทำอะไรบ้าง? Guideline เจ้าของธุรกิจมือใหม่

ทำบัญชีรายวันต้องทำอะไรบ้าง? Guideline เจ้าของธุรกิจมือใหม่

“ทำบัญชีรายวันยังไงดี? ต้องบันทึกอะไรบ้าง?” คำถามเหล่านี้มักจะวนเวียนอยู่ในหัวของเจ้าของธุรกิจมือใหม่ การทำบัญชีประจำวันอาจฟังดูเป็นเรื่องยุ่งยากและใช้เวลาเยอะไปสักนิด แต่ถ้าเผลอทำผิดไปล่ะก็ อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจในระยะยาวได้เลยค่ะ

เพราะฉะนั้นวันนี้เรามี Guideline ทำบัญชีง่าย ๆ มาแนะนำเจ้าของธุรกิจมือใหม่ เพื่อให้สามารถทำบัญชีประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพกันจ้า

ทำบัญชีรายวัน สำหรับเจ้าของธุรกิจมือใหม่ ยังไม่จดบริษัท

ตาม พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ธุรกิจที่ยังไม่ได้จดบริษัทจะทำบัญชีรายวันหรือไม่ทำก็ได้ แต่ถ้าต้องการรู้ว่าผลประกอบการธุรกิจตัวเองจะได้ไปต่อหรือพอแค่นี้ รวมถึงอยากวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคตให้ดีขึ้นล่ะก็ แนะนำให้ทำดีกว่า โดยสามารถทำบัญชีด้วยแบบฟอร์มง่าย ๆ ได้ และเราจะทำบัญชีทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกัน คือ บัญชีรายได้ บัญชีค่าใช้จ่าย และบัญชีสินค้า มีวิธีการทำบัญชีแบบต่าง ๆ ตามด้านล่างนี้เลย

จดบันทึกการขาย และช่องทางการรับเงิน

อันดับแรกเริ่มจากการบันทึกรายได้กันก่อน โดยเราจะบันทึกรายการทั้งหมดลงในบัญชีรายได้ ซึ่งข้อมูลรายได้ที่จะใส่ในบัญชีชนิดนี้จะเอามาจากรายได้ทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเงินสด เงินโอน เงินฝากธนาคาร

ในบัญชีรายได้จะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่

  1. ชื่อผู้ประกอบการ
  2. ชื่อสถานประกอบการ
  3. วัน เดือน ปี ที่ได้รายรับ
  4. ชื่อลูกค้า
  5. ชื่อสินค้า
  6. จำนวน (หน่วย)
  7. จำนวนเงินรวม (บาท)
  8. หมายเหตุ

หลายคนมาดูตรงนี้แล้วอาจจะแปลกใจนิดนึงว่าทำไมบัญชี รายวันส่วนนี้ทำไมมีรายละเอียดเยอะจัง ต้องขอแนะนำแบบนี้ค่ะว่า การทำบัญชีรายรับให้ปังเนี่ย ยิ่งละเอียด ยิ่งดี เพราะข้อมูลทั้งหมดนี้สามารถเอาไปวิเคราะห์ธุรกิจต่อได้ค่ะ

ดาวน์โหลดฟรี ไฟล์ทำบัญชีรับ-จ่ายด้วย Excel คลิกเลย

จดบันทึกการขาย และช่องทางการรับเงิน
จดบันทึกการขาย และช่องทางการรับเงิน

จดบันทึกค่าใช้จ่าย และเก็บเอกสารใบเสร็จรับเงิน

หากการทำธุรกิจมีค่าใช้จ่ายฉันใด บัญชีประจำวันที่บันทึกค่าใช้จ่ายก็ต้องทำฉันนั้นค่ะ

การทำบัญชีค่าใช้จ่ายจะทำคู่กับบัญชีรายได้ เพื่อบันทึกรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในธุรกิจทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการชำระด้วยเงินสด เงินโอน รวมถึงรายการจ่ายสินค้า หรือวัสดุสิ้นเปลือง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่า ในแต่ละวัน ใช้จ่ายไปทั้งหมดเท่าไหร่ หรือมีส่วนไหนที่สามารถเพิ่ม – ลดค่าใช้จ่ายได้บ้างนั่นเองค่ะ บัญชีค่าใช้จ่ายนั้นจะมีส่วนประกอบที่ต้องมี ได้แก่

  1. ชื่อผู้ประกอบการ
  2. ชื่อสถานประกอบการ
  3. วัน เดือน ปี ที่เกิดค่าใช้จ่าย
  4. ชื่อผู้จำหน่าย
  5. ประเภทค่าใช้จ่าย
  6. จำนวน (หน่วย)
  7. มูลค่า (บาท)
  8. ประเภทค่าใช้จ่าย
  9. หมายเหตุ

เมื่อบันทึกรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดลงในบัญชีไปแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรทำมากที่สุดก็คือ เก็บหลักฐานทุกครั้งที่มีค่าใช้จ่าย เช่น ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีของธุรกิจได้นั่นเองค่ะ

หากใครอยากทำความเข้าใจ เอกสารการซื้อขายสินค้า มีอะไรบ้าง แนะนำดูที่บทความนี้เลย เอกสารการซื้อขายสินค้า มีอะไรบ้าง? รู้ไว้จัดการธุรกิจได้เป็นระบบ

จดบันทึกค่าใช้จ่าย และเก็บเอกสารใบเสร็จรับเงิน
จดบันทึกค่าใช้จ่าย และเก็บเอกสารใบเสร็จรับเงิน

จดบันทึกสต็อกเข้าออก กรณีมีสินค้าคงเหลือ

ธุรกิจหลายแห่งมักจะมีการซื้อขายสินค้าอยู่ตลอด และต้องมีการซื้อสินค้ามาสต๊อกไว้ที่หลังร้าน หรือในโกดัง ถูกต้องไหมคะ? เพราะฉะนั้น ควรทำบัญชีสินค้าเอาไว้ค่ะ เพราะบัญชีประเภทนี้จะช่วยให้เราทราบได้ว่าตอนนี้สินค้าแต่ละชนิดเหลืออะไรบ้าง เหลือจำนวนเท่าไร และต้นทุนสินค้าเป็นเท่าไร จะได้เป็นแนวทางในการวางแผนสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า หรือหาทางระบายสต๊อกได้ทันค่ะ

ส่วนข้อมูลในบัญชีสินค้า จะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ได้แก่

  1. ชื่อผู้ประกอบการ
  2. ชื่อสถานประกอบการ
  3. วัน เดือน ปี ที่ซื้อสินค้ามาสต๊อกไว้
  4. ชื่อสินค้า
  5. ปริมาณสินค้าเข้า-ออก และคงเหลือ
  6. มูลค่าสินค้า (แยกออกมาเป็นลักษณะเดียวกันกับปริมาณสินค้า)
  7. ราคาต่อหน่วย
  8. หมายเหตุ
จดบันทึกสต็อกเข้าออก กรณีมีสินค้าคงเหลือ
จดบันทึกสต็อกเข้าออก กรณีมีสินค้าคงเหลือ

สรุปรายได้ และค่าใช้จ่ายประจำวันเปรียบเทียบกันว่ามีกำไรหรือขาดทุน

หลังจากที่เราได้ทำบัญชีทั้ง 3 ประเภทกันไปแล้ว Next Step ต่อมาที่เราจะต้องทำกันต่อก็คือการทำสรุปรายได้ และค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเป็นการเอายอดรวมจากรายได้ และค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาสรุปใส่ในบัญชี รายวันประเภทนี้ เพื่อให้เห็นภาพว่าสถานการณ์ธุรกิจตอนนี้มีแนวโน้มว่าจะได้กำไร หรือว่าขาดทุน เราอาจจะทำเป็นรายเดือน หรือ 3 เดือนครั้งก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละคน

วิธีทำสรุปรายได้ และค่าใช้จ่าย

  1. เอายอดรวมรายได้มาใส่ที่ช่องแรก
  2. เอาค่าใช้จ่ายมาใส่ที่ช่องต่อมา และก็แตกย่อยออกมาเป็นค่าใช้จ่ายแบบไหนบ้าง เช่น ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
  3. เอายอดรวมรายได้มาหักลบกับยอดค่าใช้จ่าย ก็จะได้ตัวเลขที่เป็นกำไรขาดทุนออกมา
  4. หากตัวเลขคงเหลือเป็นผลบวก ไม่ติดลบ นั่นหมายความว่าธุรกิจได้กำไร แต่ถ้าได้ตัวเลขติดลบออกมา แสดงว่ากำลังขาดทุนอยู่
สรุปรายได้ และค่าใช้จ่ายทำบัญชีรายวัน
สรุปรายได้ และค่าใช้จ่ายทำบัญชีรายวัน

และเมื่อรู้แล้วว่าสถานการณ์ธุรกิจตอนนี้เป็นอย่างไร ข้อมูลจากบัญชี รายวันตรงนี้นี่เองจะเป็นตัวชี้วัดที่จะบอกได้ว่าเราควรจะพัฒนาธุรกิจจุดไหน หรือจะแก้ปัญหาอย่างไรให้ดีขึ้นต่อไป

สำหรับใครที่กำลังจะเปิดธุรกิจใหม่ และยังไม่มีแผนจะจดทะเบียนบริษัทในตอนนี้ การทำบัญชีประจำวันด้วยตัวเอง จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญมาก ๆ ในการบริหารธุรกิจ และที่สำคัญจะช่วยให้ทุกคนรู้วิเคราะห์ต่อไปได้อีกว่า เมื่อไรควรจดบริษัทดีนะ เห็นประโยชน์มากมายแบบนี้ ไม่ทำบัญชีประจำวันไม่ได้แล้ว จริงไหมคะ 🙂

ทำบัญชีรายวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ติดต่อ Line: @zerotoprofit

ติดตาม Zero to Profit ช่องทางอื่นได้ที่

Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/

Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit

ผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ด้านบัญชีธุรกิจ ที่เชื่ออย่างสุดหัวใจว่า การทำบัญชีช่วยให้ธุรกิจมีกำไร ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง