“สมัยนี้ ใครๆ ก็มีบริษัทเป็นของตัวเองได้ ง่ายจะตาย”
คำพูดนี้อาจไม่จริงเสมอไป ถ้าใครอยากทำธุรกิจแบบระยะยาว
นอกจากเรื่องที่ว่าจดบริษัทที่ไหน จดอย่างไร ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่เราต้องรู้เรียนรู้เพิ่มเติม เพราะการติดกระดุมเม็ดแรก สำหรับชีวิตเจ้าของธุรกิจนั้นสำคัญเสมอ
เราลองมาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่คนอยากเปิดบริษัท แต่ความรู้เป็น 0 ต้องทำความเข้าใจ
1.ใครถือหุ้นบ้าง
ด้วยความที่การเปิดบริษัทต้องแบ่งสัดส่วนความเป็นเจ้าของเป็นจำนวนหุ้น และขั้นต่ำบริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นตามกฎหมายอย่างน้อย 3 คน ฉะนั้น เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องแรกที่เจ้าของธุรกิจต้องเริ่มคิดว่า เราจะชวนใครมาเป็นผู้ถือหุ้น (เจ้าของบริษัท) ร่วมกันบ้าง
เรื่องน่าคิดสำหรับการแบ่งจำนวนหุ้นที่หลายคนมองข้ามไป ก็คือ เราต้องจำไว้ว่ายิ่งถือหุ้นมาก ยิ่งมีอำนาจเยอะ และมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกำไร(หรือขาดทุน) เยอะเช่นกัน
ฉะนั้น ถ้าอยากมีสิทธิ์ตัดสินใจต่างๆในธุรกิจ อย่าลืมทำความเข้าใจเรื่องสัดส่วนหุ้นให้ดีๆ และที่สำคัญเราควรหลีกเลี่ยงการแบ่งหุ้นแบบ 50:50 เพราะเวลาผิดใจกัน โหวตกันเมื่อไร ก็ไม่สามารถตัดสินจากผลโหวต (ตามสัดส่วนหุ้น) ได้สักที
อย่างตัวอย่างนี้
ถ้าแบ่งหุ้นแบบ 20:20:60 หมายความว่า คนที่ 3 มีอำนาจในการตัดสินใจสูงสุด จะโหวตกี่ครั้งก็ตัดสินได้เสมอ แต่ถ้าเราแบ่ง 25:25:50 ถ้าคนแรกและคนที่ 2 แยกฝ่ายกับคนที่ 3 ทะเลาะกี่ครั้งก็ไม่จบเรื่องสักที
2.ใช้เงินทุนเท่าไร?
เริ่มต้นธุรกิจอาจไม่ได้ใช้แค่ใจแต่ต้องมีเงินทุนเริ่มต้นด้วย
ส่วนแรก เป็นเงินทุนตั้งต้น ที่จะต้องใช้เริ่มกิจการซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะธุรกิจ เช่น อยากเปิดร้านอาหาร เงินทุนตั้งต้นก็จะเป็นเงินก้อนใหญ่สำหรับก่อสร้าง ตกแต่งร้านอาหาร และค่าใช้จ่ายเบื้องต้นอื่นๆ อีก เราต้องรู้จำนวนเงินนี้ก่อน
ส่วนสอง เป็นค่าใช้จ่ายประจำ เช่นว่า เปิดร้านอาหารมาแล้วในช่วงเริ่มแรกที่เพิ่งเปิดคนอาจจะยังไม่รู้จัก แต่เราต้องมีรายจ่ายประจำ เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าจ้างแม่บ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟร้าน รายจ่ายพวกนี้ต้องคิดล่วงหน้ารวมเป็นเงินทุนด้วย แต่จะมีจำนวนมากน้อยสำหรับกี่เดือนก็ขึ้นอยู่กับการประมาณการของเรา
หลายคนเริ่มต้นธุรกิจแบบมีแค่เงินก้อนแรก เปิดร้านมาได้พักเดียวก็เจ๊งเพราะไม่มีเงินพอสำหรับรันธุรกิจต่อในช่วงที่ตั้งไข่ ฉะนั้น เงินทุนก้อนนี้ต้องทำความเข้าใจและประมาณให้ดีเลยล่ะ
อ้อ…แล้วอีกอย่าง จำนวนเงินทุนที่เราใช้ก็จะสัมพันธ์กับ เงินทุนจดทะเบียน ตอนที่เราจดจัดตั้งบริษัทด้วย ซึ่งโดยรวมแล้วแต่ละธุรกิจก็ต้องการใช้เงินทุนจำนวนต่างกัน ฉะนั้น ความเชื่อที่ว่าจดสัก 1 ล้านดีกว่าดูน่าเชื่อถือดี อันนี้เป็นความเชื่อที่ไม่น่าจะถูกต้องสัดเท่าไร
3.เอกสารพร้อมไหม?
- สำเนาบัตรผู้ถือหุ้น เพื่อยืนยันตัวตนว่าทุกคนประสงค์จะจดทะเบียนบริษัทนะ แต่ถ้าจดแบบออนไลน์อาจมีวิธียืนยันตัวตนอีกแบบแทนการใช้สำเนาบัตรประชาชนนะ
- แผนที่ตั้งบริษัท ต้องมีที่อยู่และระบุอย่างชัดเจน ให้เห็นถนนหลัก ถนนรองชัดเจน และตำแหน่งบริษัท
- ค่าธรรมเนียมจดบริษัท อันนี้จะเป็นคนละส่วนกับเงินทุน ค่าธรรมเนียมจดบริษัทจะผันแปรกับจำนวนทุนจดทะเบียนด้วย ถ้าจดทุนเยอะ ค่าธรรมเนียมก็เยอะ ยกตัวอย่าง ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน ต้องเตรียมค่าธรรมเนียม 6500-7000 นะ แต่ตอนนี้ถ้าใครจดออนไลน์จะมีโปรโมชั่นลดค่าธรรมเนียม 50%
ถ้าใครสนใจจดทะเบียนบริษัทเองแบบออนไลน์ เชิญได้ที่นี่เลยจ้า
https://ereg.dbd.go.th/ERegistMemberWeb/nonmemberpages/home.xhtml
4.ให้ใครดูแลบัญชีให้
เรื่องนี้หลายคนคาดไม่ถึง แต่เราอยากจะบอกว่าควรคิดไว้แต่เนิ่นๆ เพราะตอนจดทะเบียน จะต้องกรอกชื่อนามสกุล และรหัสผู้สอบบัญชีด้วย และหลังจากบริษัทเริ่มต้นเราก็ต้องจัดทำบัญชีตามกฎหมายกำหนดด้วยนะ
“ผู้ทำบัญชี” แตกต่างจาก “ผู้สอบบัญชี” เพราะผู้ทำบัญชีจะเป็นคนจดบันทึกบัญชีตามเอกสารที่มี ส่วนผู้สอบบัญชีจะเป็นคนที่ตรวจสอบงบการเงินว่างบไม่ได้ผิดนะ ก่อนยื่นให้หน่วยงานรัฐ ซึ่งบริษัทของเราก็ต้องมีทั้ง 2 คนให้ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายด้วยนะ
ทั้ง 4 เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่คนอยากเปิดบริษัทต้องรู้ และยิ่งถ้าความรู้เป็น 0 ก็ควรทำความเข้าใจดีๆ และเช็คให้ชัวร์ก่อนลงมือจดทะเบียนบริษัท เพราะนี่หมายถึง ก้าวแรกที่สำคัญของธุรกิจ ที่เราคงอยากให้มันมั่นคงและยั่งยืนที่สุดจริงมั้ยคะ
ปรึกษาปัญหาบัญชีธุรกิจ หาโปรแกรมบัญชีที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ ติดต่อ
Line: @zerotoprofit หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit