ทุกองค์กรย่อมมีปัญหา แต่ทว่าปัญหาที่แก้ยากที่สุด และต้องใช้ความสามารถของผู้บริหารสูงสุดๆ ก็คือ ปัญหา พนักงานในองค์กร เพราะว่าการจัดการปัญหาเรื่องคน ไม่สามารถแก้ไขง่ายๆ ถ้าเราไม่เข้าใจปัญหาเหล่านั้นจริงๆ และด้วยความที่ผู้คนมีความหลากหลาย จากการเลี้ยงดูก็ดี จากสิ่งแวดล้อมก็ดี และจากทัศนคติก็ดี ทำให้เมื่อเวลาร่วมงานกันอาจจะมีแนวโน้มที่ไม่เข้าใจกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คาดเดายาก แต่ผู้บริหารก็ต้องตั้งการ์ดเตรียมรับมือไว้
5 ปัญหาพนักงานที่นิยมเกิดขึ้นบ่อยมีอะไรบ้าง วันนี้เราขอหยิบยกปัญหายอดฮิตจัดอันดับโดย Glass Magazine มาให้ทุกคนฟังกันค่ะ
ปัญหา พนักงานในองค์กรมีอะไรบ้าง
1. รายละเอียดงานใน Job Description ไม่เพียงพอ
ก่อนที่จะตกลงรับพนักงานเข้าทำงาน บริษัทจะต้องระบุรายละเอียดงานไว้ในคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ให้ชัดเจน เพื่อบรรยายลักษณะงาน และช่วยขจัดความเข้าใจผิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
คำบรรยายลักษณะงาน ทำหน้าที่เป็นเอกสารบันทึกสิ่งที่พนักงานควรทำให้สำเร็จในตำแหน่งงาน และกิจกรรมใดที่พวกเขาต้องทำให้ดีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น สิ่งนี้ควรถือเป็นสัญญาจ้างงาน โดยสร้างเครื่องมือในการวัดผลการปฏิบัติงาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้จัดเตรียมเอกสารรายละเอียดงานให้กับพนักงานทุกคนและนำไปใช้อย่างสม่ำเสมอ
เมื่อ Job Description เป็นเหมือนบรรทัดฐานของงานสำหรับพนักงานแต่ละคนแล้ว ก่อนที่จะประกาศรับสมัครงานครั้งใหม่ อย่าลืมเช็ครายละเอียดงานให้ดีเพื่อลดข้อขัดแย้งนะคะ
2. ขาดการฝึกอบรม
พนักงานจะทำงานได้ไม่ดีเลยถ้าขาดการฝึกอบรม บางบริษัทเพียงแค่โยนพนักงานใหม่ไปลงสนามจริง บังคับให้พวกเขาเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการลองผิดลองถูก บางคนถูกสอนง่ายโดยพี่ๆ แบบไม่ถูกต้อง ทั้งสองอย่างมีผลเสียต่อองค์กรด้วยกันทั้งสิ้น
การฝึกอบรมอย่างเป็นทางการเป็นสิ่งจำเป็น การฝึกอบรมต้องเกี่ยวข้องกับรายละเอียดงานของพนักงานโดยตรง ควรกล่าวถึงวิธีที่พนักงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตำแหน่งและทำกิจกรรมสนับสนุนได้ดีที่สุด
นอกจากนี้ การฝึกอบรมต้องมีความรับผิดชอบ ทุกทักษะที่สอนจะต้องจับคู่กับความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ซึ่งต้องการให้ฝ่ายบริหารวัดความก้าวหน้าของพนักงานแต่ละคน
ในบางครั้งที่พนักงานทำงานไม่ได้ดั่งใจ นั่นก็เป็นเพราะพวกเค้าไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเพียงพอและดีพอนั่นเอง
3. การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
การประเมินผลงานของพนักงานว่าทำงานมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น มักไม่ได้รับความใส่ใจเพียงพอจากผู้บริหารระดับสูง ทำให้หัวหน้าตรวจสอบให้เสร็จเพียงเพราะต้องทำ แต่จริงๆ แล้ว ผู้บริหารต้องตระหนักถึงความเสี่ยงก่อน
การใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงในการพูดคุยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของพนักงานจะส่งผลต่อสิ่งที่พนักงานคิดและทำในช่วงหกเดือนถึงหนึ่งปีข้างหน้า
นี่จึงทำให้หัวหน้างานต้องคอยประเมินให้แน่ใจว่าได้ใช้ Job Description ของพนักงานและทบทวนผลงานของพวกเขาอย่างจริงจัง ผู้จัดการควรขอให้พนักงานแบ่งปันมุมมองของพวกเขาในแต่ละเรื่องก่อน และอันดับแรก ผู้จัดการควรมุ่งเน้นไปที่จุดแข็งด้านประสิทธิภาพก่อนที่จะกล่าวถึงส่วนที่ต้องปรับปรุง การตรวจสอบผลการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จจะจบลงด้วยข้อตกลงระหว่างพนักงานและผู้จัดการ และด้วยชุดวัตถุประสงค์การปฏิบัติงานที่ออกแบบร่วมกันในอนาคต สิ่งนี้ทำให้พนักงานมีความเชื่อมั่นอย่างจริงใจ
4. ขาดการสื่อสารสองทาง
การสื่อสาร 2 ทาง หรือ 2-way communication คือ การสื่อสารจากหัวหน้างาน และพนักงานร่วมกันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่หัวหน้างานสั่งงานอย่างเดียว โดยที่พนักงานไม่มีส่วนร่วมเลย
การสื่อสารสองทางเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อพนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นได้ และผู้จัดการรู้ว่าพนักงานรู้สึกอย่างไร ก็จะสร้างทัศนคติและพฤติกรรมการเป็นเจ้าของบริษัทที่นำไปสู่ผลงานที่ยอดเยี่ยม ฝ่ายบริหารควรใช้ความพยายามร่วมกันเป็นประจำในการสื่อสารกับพนักงานทุกคนผ่านสื่อต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด
5. ไม่ได้ชื่นชมและขอบคุณพนักงานมากพอ
พนักงานทำดีแทบตาย แต่ไม่เคยได้รับคำชม แต่พอทำแย่ได้รับคำติมากมาย ใครเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้าง ต้องปรับตัวเองใหม่เลยล่ะค่ะ
คำชมเล็กๆ น้อยๆ นั้นเป็นกำลังใจที่ดีในการทำงาน นอกจากนี้การขอบคุณทุกวัน สิ่งนี้จะเปลี่ยนทัศนคติของพนักงานให้กลายเป็นวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร เช่น แค่จากการทำงานไปวันๆ พวกเค้าอาจมีความภูมิใจในชิ้นงานที่สร้างสรรค์ และมีความสุขในการทำงานมากยิ่งขึ้น
แนวทางแก้ไขปัญหา
ทั้งหมด 5 ข้อที่เล่ามานี้ เป็นปัญหาพนักงานยอดฮิตในองค์กรค่ะ แต่ถ้าเมื่อไรก็ตามเราเจอปัญหาอื่นๆ เข้ามาก็อย่าท้อใจไปนะคะ เพราะทางแก้ไขเรื่องนี้ต้องอาศัยความเข้าใจเป็นอย่างมาก ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการเองควรลงไปพูดคุย หรือส่งตัวแทนที่มีความเป็นกลางเป็นผู้ที่สามารถรับฟัง จัดการ แก้ไข ปัญหานี้ได้โดยตรง ควรสอบถามถึงสาเหตุต่างๆที่เกิดขึ้นโดยละเอียด ทางที่ดีควรมีเงื่อนไข กฎระเบียบและข้อควรระวังต่างๆแจ้งให้พนักงานทราบ และทบทวนอยู่สม่ำเสมอ เพราะบางทีพนักงานอาจจะละเลยสิ่งเหล่านี้ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไกลตัวไม่จำเป็นต้องปฎิบัติตาม
ฉะนั้นแล้วควรเน้นย้ำเงื่อนไขเหล่านั้นอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันปัญหาเดิมๆที่อาจจะเกิดซ้ำขึ้นมาในอนาคตก็เป็นได้
เพราะทุกคน ทุกหน้าที่ล้วนแล้วแต่สำคัญกับการดำเนินธุรกิจของเราทั้งสิ้น ควรสร้างวัฒนธรรมการทำงานอย่างมืออาชีพ และเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในธุรกิจกับแง่มุมต่างๆ หากผู้ประกอบการละเลย และปล่อยให้พนักงานจัดการกันเอง อาจจะทำให้เดือดร้อนในภายหลังได้ จากข่าวสารต่างๆที่นำเสนอออกมานั้น หลายคนก็สร้างความเสียหายต่อธุรกิจทั้งการมีปัญหาภายใน และการนำคนนอกเข้ามามีปัญหา ฉะนั้นแล้วต้องคอยตรวจตราดูแล สอดส่องอย่างถี่ถ้วน เพื่อป้องกันและเท่าทันปัญหานั้นๆอยู่เสมอ
การมีพนักงานคนแรก เราต้องเข้าใจเรื่องอะไรบ้าง มีหน้าอะไรที่เจ้าของธุรกิจต้องทำ และเราจะมีรายจ่ายอะไรเพิ่มเติมไหม Zero to Profit จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจสิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้เบื้องต้น เมื่อมีพนักงานคนแรกไปพร้อมๆ กัน จ้างพนักงานคนแรกต้องรู้อะไรบ้าง ?
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit