สอนยื่น e-wage ยื่นกองทุนเงินทดแทน ออนไลน์ด้วยตัวเอง

สอนยื่น e-Wage ยื่นกองทุนเงินทดแทน ออนไลน์ด้วยตัวเอง

“เงินกองทุนทดแทน” ชื่ออาจไม่คุ้นหู แต่รู้ไหมว่า ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างต้องยื่นสิ่งนี้ทุกปีนะคะ

การนำส่งเงินกองทุนทดแทน เป็นเรื่องที่ต้องทำประจำทุกปี เพื่อส่งข้อมูลและชำระเงินให้กับสำนักงานประกันสังคม และรู้ไหมเอ่ยว่า ปัจจุบันนี้ ผู้ประกอบการทุกท่านสามารถยื่นแบบออนไลน์ได้ผ่านระบบ e-Wage ของสำนักงานประกันสังคมนั่นเอง ในวันนี้ Zero to Profit จะมาสอนยื่นกองทุนเงินทดแทน ออนไลน์ (e-Wage) ด้วยตัวเองทีละขั้นตอนค่ะ

เงินกองทุนทดแทนคืออะไร?

กิจการที่มีพนักงานคนแรกแล้ว นอกจากต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง ยื่นแบบสมทบประกันสังคมแล้ว นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนแก่สำนักงานประกันสังคมอีกด้วย ลองมาดูกันค่ะว่ากองทุนเงินทดแทนมันคืออะไร

กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบ อันตราย เจ็บป่วย ถึงแก่ความตาย หรือสูญหาย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง

เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียว จะเรียกเก็บจากนายจ้าง เป็นรายปี โดยประเมินจำนวนเงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน (คนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี) คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการระหว่างอัตรา 0.2-1.0% โดยนายจ้างแต่ละประเภทจะจ่าย ในอัตราเงินสมทบแต่ละธุรกิจจะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงภัยในการทำงานค่ะ

นายจ้าง มีหน้าที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1คน

คำนวณปีละกี่ครั้งและยื่นเมื่อไหร่บ้าง

ปีแรก ถ้ามีลูกจ้างคนแรก ให้จ่ายเงินทดแทนภายใน 30 วันในปีแรก (ปกติถ้าไปขึ้นทะเบียนนายจ้าง จะถูกเรียกเก็บทันทีที่สำนักงานประกันสังคม)

ส่วนปีถัดไปนายจ้างจะต้องจ่ายเงินทดแทนประจำปีทุกต้นปี พร้อมกับส่งรายงานค่าจ้างที่จ่ายจริงแก่สำนักงานประกันสังคมด้วย โดยมีขั้นตอน 2 ขั้นตอนดังนี้

  • ครั้งที่ 1 ประกันสังคมประเมินเงินสมทบ ภายในเดือนมกราคมของทุกปี ประกันสังคมจะประเมินเงินสมทบโดยจะใช้วิธีการประมาณการไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจไม่เท่ากับค่าจ้างจริงที่จะเกิดขึ้น
  • ครั้งที่ 2 นายจ้างส่งข้อมูลจริง เดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป นายจ้างต้องแจ้งจำนวนค่าจ้างรวมทั้งปีของปีที่ผ่านมาผ่านแบบ กท.20ก หรือระบบ e-wage ให้กับสำนักงานประกันสังคมอีกครั้งหนึ่ง และจ่ายชำระส่วนต่างภายในเดือนมีนาคม

อัตราจ่ายชำระจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะงานและการประเมินของสำนักงานประกันสังคมค่ะ

เงินกองทุนทดแทนต้องยื่นเมื่อไหร่
เงินกองทุนทดแทนต้องยื่นเมื่อไหร่

ถ้ายังสับสนอยู่ ลองดูสรุป Timeline ว่า การจ่ายเงินกองทุนทดแทน 2 ครั้งนั้นเกิดขึ้นอย่างไรบ้างในตารางนี้เลย

งินกองทุนทดแทนประจำปียื่นเมื่อไหร่คำนวณครั้งที่ 1 : สำนักงานประกันสังคมประเมินคำนวณครั้งที่ 2 : ผู้ประกอบการยื่นตัวเลขค่าจ้างจริง
ปีแรก 31/1/x1จ่ายเงินสมทบ ภายใน 30 วัน/
ปี x1เดือนกุมภาพันธ์ ปี x2/ ( นายจ้าง ยื่น e-Wage รายงานค่าจ้างที่เกิดขึ้นจริง ปี x1 )
ปี x2เดือนมกราคม ปี x2/ ( ประมาณการเงินกองทุนทดแทน ปี x2 )
ปี x2เดือนกุมภาพันธ์ ปี x3/ ( นายจ้าง ยื่น e-Wage รายงานค่าจ้างที่เกิดขึ้นจริง ปี x2 )

การเตรียมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อ ยื่น e-Wage

เงินกองทุนทดแทนคืออะไร
เงินกองทุนทดแทนคืออะไร

ระบบ e-Wage คือ ระบบการนำส่งข้อมูลการจ้างงานที่ผ่านมาในปีให้กับประกันสังคมเพื่อคำนวณเงินกองทุนทดแทนว่ามีจ่ายเพิ่มหรือได้จะได้รับเงินคืนจากที่สำนักงานประกันสังคมประมาณการไว้หรือไม่ค่ะ ซึ่งระบบนี้ใช้ทดแทนการยื่นแบบ กท.20ก ได้ (ใครยื่น e-Wage ภายในกุมภาพันธ์ของปีถัดไปแล้ว ไม่ต้องยื่น กท.20ก ซ้ำอีกนะ)

เอกสารข้อมูลที่ต้องเตรียมเพื่อยื่น e – Wage มีดังนี้

รายงานเงินเดือน ค่าจ้างที่ใช้ยื่น e-Wage
รายงานเงินเดือน ค่าจ้างที่ใช้ยื่น e-Wage

รายงานเงินเดือนและค่าจ้างทั้งปี ข้อมูลที่ควรมีดังนี้
1. รวมเงินได้ของพนักงานที่จ่ายไปทั้งปี
2. ยอดรวมที่ใช้แจ้งแบบกท.20ก คนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปี
3. จำนวนลูกจ้างคงเหลือเดือนธันวาคม

สอนยื่นกองทุนเงินทดแทน ออนไลน์ รายงานค่าจ้างประจำปี

  1. เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม เลือกสถานประกอบการ แล้วทำการเข้าสู่ระบบตาม Username Password ที่เราเคยตั้งไว้
    (หากเป็นกิจการที่เพิ่งจดประกันสังคมยังไม่เคยมี Username Password ให้ขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตก่อนนะ สมัครตามลิงค์นี้เลย ขอทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต
เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ประกันสังสังคม
เข้าสู่ระบบเว็บไซต์ประกันสังสังคม

2. เมื่อเข้าสู่ระบบได้แล้ว ให้เลือกที่หัวข้อ เงินกองทุนทดแทน

เลือกรายการ เงินกองทุนทดแทน
เลือกรายการ เงินกองทุนทดแทน

3. เมื่อเข้ามาหน้าเงินกองทุนทดแทน ให้เลือก e-Wage รายงานค่าจ้าง

เลือก E-wage รายงานค่าจ้าง
เลือก E-wage รายงานค่าจ้าง

4. กรอกรายละเอียดค่าจ้างรายวัน หรือ รายเดือนของลูกค้าที่ได้รับต่ำสุด

กรอกรายละเอียดค่าจ้างในระบบ E-wage ประกันสังคม
กรอกรายละเอียดค่าจ้างในระบบ E-wage ประกันสังคม

5. กรอกจำนวนลูกจ้างที่คงเหลือเดือนธันวาคม (ตามหัวข้อ การเตรียมข้อมูลที่จำเป็น ยื่น e-Wage)

กรอกจำนวนเงิน และค่าจ้างในระบบ E-Wage ของประกันสังคม
กรอกจำนวนเงิน และค่าจ้างในระบบ E-Wage ของประกันสังคม

6. กรอกค่าจ้างรายงานเงินเดือนและค่าจ้างทั้งปี คนละไม่เกิน 240,000 บาทต่อปีนะ (ตามหัวข้อ การเตรียมข้อมูลที่จำเป็น ยื่น e-Wage)

ตัวอย่างการคำนวณ ยื่นเงินกองทุนทดแทนออนไลน์ ผ่านระบบ E-Wage
ตัวอย่างการคำนวณ ยื่นเงินกองทุนทดแทนออนไลน์ ผ่านระบบ E-Wage

7. ตรวจสอบข้อมูล เช็คยอดว่าต้องจ่ายเพิ่มหรือว่าได้เงินคืน หากถูกต้องแล้วให้กดยืนยัน

ตรวจสอบข้อมูลยื่นกองทุนเงินทดแทน ออนไลน์ E-Wage
ตรวจสอบข้อมูลยื่นกองทุนเงินทดแทน ออนไลน์ E-Wage

8. จากตัวอย่างจะมียอดจ่ายชำระเพิ่มเติม ให้ดาวน์เอกสารเพื่อเตรียมจ่ายชำระเงิน

ดาวน์โหลดเอกสารจ่ายชำระเงินกองทุนทดแทน
ดาวน์โหลดเอกสารจ่ายชำระเงินกองทุนทดแทน

9. นำจ่ายช่องทางตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ภายในเดือนมีนาคม ห้ามลืมนะ

จ่ายชำระเงินกองทุนทดแทนภายในเดือน มีนาคม
จ่ายชำระเงินกองทุนทดแทนภายในเดือน มีนาคม

บทสรุป

การยื่นกองทุนเงินทดแทน ออนไลน์ ผ่านช่องทาง e-Wage เตรียมข้อมูลไม่กี่อย่าง กรอกข้อมูลลงไประบบก็คำนวณให้เราได้เลย e-Wage เกิดขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เราขนาดนี้ เราในฐานะนายจ้าง อย่าลืมส่งเงินกองทุนทดแทนให้ทันเวลากันนะ เพราะนี่เป็นการตอบแทนเล็กๆ น้อยๆ ให้กับพนักงานของเรา ได้รับสิทธิ์และสวัสดิการดีๆ จากภาครัฐนะคะ หากเกิดเหตุด่วน เหตุร้ายจากการทำงานที่ไม่คาดฝันขึ้นมา สิทธิ์และสวัสดิการจากภาครัฐเหล่านี้ ช่วยคุ้มครองและเยียวยาลูกจ้างได้ดีเลยทีเดียวค่ะ

ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บบล็อก Zero to Profit ที่อยากให้เรื่องบัญชีเป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัวสำหรับเจ้าของธุรกิจ