เงินจ่ายล่วงหน้าเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่แฝงอยู่ในบัญชีของธุรกิจทั้งขนาดเล็กและใหญ่
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า “เงินจ่ายล่วงหน้า” หมายถึง เงินที่จ่ายออกไปก่อนสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วค่าใช้ประโยชน์ในอนาคต
การจ่ายล่วงหน้าเพื่อรอใช้ประโยชน์ในอนาคต ถ้าจ่ายไว้เยอะๆ ก็ทำให้กระแสเงินสดลดได้เช่นกัน (เหมือนๆ กับการซื้อตั๋วรถไฟฟ้าแบบรายเดือนไว้ แล้วอาจไม่ได้ใช้สักทีเพราะ WFH)
ยกตัวอย่างเงินจ่ายล่วงหน้าที่พบบ่อย เช่น
- ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า 6 เดือน
- ค่าประกันจ่ายล่วงหน้า 1 ปี
- ค่าวัสดุสิ้นเปลืองสำนักงาน
วิธีการคำนวณ
เงินที่จ่ายล่วงหน้า = สินทรัพย์
แต่เมื่อไรก็ตามที่มีการใช้ประโยชน์ = จะเปลี่ยนจากสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายในงบการเงินทันที
ผลที่ตามมา คือ สินทรัพย์ทยอยลดลง และค่าใช้จ่ายทยอยเพิ่มขึ้นด้วยจำนวนที่สัมพันธ์กัน
วิธีการคำนวณรับรู้เงินจ่ายล่วงหน้า สามารถทำได้ตามนี้
- วันที่ 1 มกราคม จ่ายล่วงหน้าค่าเช่าไว้ 6 เดือน = 6×30,000 = 180,000 บาท >> นี่คือสินทรัพย์
- วันที่ 31 มกราคม ใช้ประโยชน์การเช่าไปแล้ว 1 เดือน = 30,000 บาท >> ทำให้เกิดค่าใช้จ่าย = 30,000 บาท และสินทรัพย์จะลดลงเหลือ 180,000 – 30,000 = 150,000 บาท
และจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ทุกเดือนจนเงินจ่ายล่วงหน้าหมดไป และค่าใช้จ่ายรวมจะเป็น 180,000 บาท ตลอด 6 เดือน
ข้อสังเกต
แม้ว่าเงินจ่ายล่วงหน้าจะเป็นสินทรัพย์ของกิจการ แต่การเสียเงินสดก้อนโตไปไว้ก่อน เพื่อรอใช้ประโยชน์ในอนาคตคงไม่ใช่เรื่องที่น่าแฮปปี้นักในมุมการบริหารเงินสด
ฉะนั้น ก่อนจ่ายเงินล่วงหน้า อย่าลืมเจรจาเพื่อลดจำนวนเดือนที่จ่ายล่วงหน้าเพื่อรักษากระแสเงินสด หรือถ้าลดจำนวนเดือนไม่ได้ลองขอส่วนลดจากการจ่ายเงินล่วงหน้าก้อนโตนี้ และนี่ก็เป็นเทคนิคง่ายๆ ที่เริ่มต้นได้ทันทีสำหรับเจ้าของธุรกิจ
ปรึกษาปัญหาบัญชีธุรกิจ หาโปรแกรมบัญชีที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ ติดต่อ
Line: @zerotoprofit หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ช่องทางอื่นได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit