ใครกำลังเปิดร้านค้าออนไลน์ในแอป Shopee หรือ Lazada อยู่ฟังทางนี้ค่ะ! รู้ไหม? การขายของไม่ได้จบแค่ขายของ ส่งของและได้เงินเพียงเท่านั้นนะคะ จริง ๆ แล้วมีค่าใช้จ่ายปริศนาเล็ก ๆ น้อย ๆ ซ่อนอยู่ แบบชนิดที่ว่าพ่อค้า แม่ค้าก็เผลอมองข้ามเรื่องนี้ไปได้ค่ะ
หลายคนอาจสงสัยว่า LCP Fee คืออะไร? Zero to Profit ขออาสามาเปิดเผยค่าใช้จ่ายการขายที่แม่ค้า Lazada ไม่ควรมองข้ามกันค่ะ จะได้เป็นแนวทางดี ๆ ในการบริหารจัดการเงินในร้านให้ราบรื่นนะคะ
LCP fee lazada คืออะไร?
Lazada Cash Back Program Fee หรือที่หลายคนเข้าใจกันว่า LCP Fee Lazada คือ ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บจากพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ที่เข้าร่วมโปรแกรมให้ Cash Back ของ Lazada โดยจะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียอยู่ที่ประมาณ 3% ของราคาขายสินค้า
พอจะเก็ตบ้างแล้วใช่ไหมคะ? LCP อันนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อกระตุ้นยอดขายของร้านค้า เพิ่มแรงจูงใจให้ลูกค้ามาซื้อของเยอะ ๆ โดยเมื่อลูกค้ามาซื้อของที่ร้านค้าผ่าน Lazada จะได้รับเงินคืนกลับไปค่ะ
โดยที่ LCP fee จะสรุปรายงานเป็นรายการค่าธรรมเนียมที่จะเรียกเก็บกับผู้ขายนนั่นเอง หากผู้ขายเข้าไปไปดูที่รายงานการเงินของ LAZADA จะมียอดแสดงที่ค่าธรรมเนียมด้านการตลาดนั่นเอง
นอกจาก LCP fee ขายของ Lazada มีค่าใช้จ่ายอะไรอีกบ้าง
ไม่เพียงแต่ค่า LCP Fee ขายของ Lazada เท่านั้นนะคะ ยังมีค่าใช้จ่ายยิบย่อยอื่น ๆ ที่พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ต้องเจอ และก็ต้องจ่าย โดยมีรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องทำความเข้าใจ เช่น
ค่าขนส่ง
ค่าใช้จ่ายที่พ่อค้า แม่ค้าต้องจ่ายเมื่อมีการขนส่งสินค้าเกิดขึ้นจากการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม โดยจะคิดราคาจากน้ำหนักและขนาดสินค้า คูณด้วยอัตราค่าขนส่งของ Lazada ราคาจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับประเภทผู้ขาย และสถานที่จัดส่ง
ค่าบริการ
สารพัดค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่เกิดขึ้นใน Lazada ซึ่งพ่อค้า แม่ค้าได้ใช้บริการต่าง ๆ จาก Lazada เพื่อจูงใจให้ลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าให้ได้มากที่สุดจะถูกสรุปยอดรวมไว้ในบิลค่าบริการทั้งหมดเลยค่ะว่าต้องจ่ายอะไรบ้าง ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายที่มักจะเจอบ่อย ๆ เช่น
- Payment Fee ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากลูกค้าตอนที่ชำระเงิน 2 – 3% ของราคาสินค้า ขึ้นอยู่กับวิธีการชำระเงินที่ลูกค้าเลือกใช้ เช่น บัตรเครดิต หรือเก็บเงินปลายทาง
- Commission Fee ค่าธรรมเนียมการขาย มีอัตราต่างกันไปตามสินค้า เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีค่าคอมมิชชันประมาณ 3-5% ขณะที่สินค้าแฟชั่นอาจสูงถึง 5 – 10%
- Affiliate Ads ค่าโฆษณาสำหรับโปรโมทสินค้า Lazada ผ่านพาร์ตเนอร์ของ Lazada
- Freeship Max Fee ค่าธรรมเนียมจากการเข้าร่วมบริการส่งฟรีกับ Lazada
ดูตัวอย่างบิลค่าใช้จ่ายจริงที่ต้องจ่ายให้ Lazada ?
จากหัวข้อที่แล้วที่ได้พูดถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องเจอเมื่อขายของออนไลน์ใน Lazada เรามาดูตัวอย่างหน้าตาของบิลค่าใช้จ่ายกันบ้างดีกว่าค่ะ
ในส่วนของบิลค่าขนส่งสินค้า จะมีหน้าตาแบบนี้
ส่วนบิลค่าบริการของ Lazada จะมีรายการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ระบุเอาไว้ รวมทั้งค่า LCP Fee Lazada ที่หมายความคือค่าธรรมเนียมโปรแกรมเงินคืน ประกอบอยู่ในบิลนี้ด้วยค่ะ หน้าตาก็จะเป็นประมาณนี้นะคะ
ถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น มักจะเกิดขึ้นเพื่อให้แม่ค้าสามารถขายของได้มากขึ้นทั้งนั้นเลยค่ะ และไม่ได้เกี่ยวอะไรกับต้นทุนสินค้า (ที่เราผลิตหรือว่าที่เราไปลงทุนสั่งซื้อมาเลยสั่งนิด) เราจะเรียกค่าใช้จ่ายลักษณะนี้ว่า “ค่าใช้จ่ายในการขาย”
รู้จักค่าใช้จ่ายในการขายคืออะไร?
หลังจากที่เข้าใจคำนิยามของคำว่า LCP Fee Lazada แล้วว่าคืออะไร มาดูที่ค่าใช้จ่ายในการขายกันบ้างดีกว่าค่ะว่าคืออะไร
“ค่าใช้จ่ายในการขาย” คือ ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อทำให้สินค้าขายออก และนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้น จะเกิดขึ้นหลังจากเราผลิตสินค้าหรือมีสินค้าพร้อมขายแล้วค่ะ
ลองนึกภาพดูนะคะ ถ้าเราแค่เปิดร้าน แล้วเอาสินค้ามาวางขายเฉย ๆ โดยที่ไม่โฆษณาอะไรเลยว่าเราขายอะไร ช่วยแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง เขาจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าเรากำลังขายสินค้า เราจึงต้องมีการยิงแอดโฆษณาเพื่อให้คนเกิด Brand Awareness และเข้ามาซื้อของในร้านมากขึ้น ซึ่งจะต้องจ่ายค่ายิงแอด ถูกต้องไหมคะ
หรืออีกกรณีหนึ่งก็คือ เวลาขายของออนไลน์ ต้องจัดโปรโมชั่นให้น่าสนใจ หรือผลักดันให้ลูกค้าในแพลตฟอร์มออนไลน์เห็นสินค้าของเรามากยิ่งขึ้น กรณีนี้ก็คือ LCP Fee Lazada จูงใจในการขายโดยเข้าร่วมโปรแกรมให้ CASHBACK ลูกค้า แถมสินค้าที่มี CASHBACK ยังถูกดันให้ขึ้นหน้าฟีทของการขายด้วยนั่นเอง
นี่แหละค่ะ หลักการง่าย ๆ ของค่าใช้จ่ายในการขาย จะเป็นค่าใช้จ่ายคนละแบบกับต้นทุนขาย มองเผิน ๆ เหมือนคลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเดียวกัน แต่ความจริงแล้วจะมีเส้นบาง ๆ แยกความแตกต่างนั้นอยู่ค่ะ
ค่าใช้จ่ายในการขายต่างกับต้นทุนขายยังไง?
ความแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายในการขายกับต้นทุนขายนั้น ขอแยกแบบนี้ค่ะ โดยจะขอเอา จุดที่ของผลิตเสร็จพร้อมขาย มาตั้งธงไว้ตรงกลางนะคะ
ต้นทุนขายจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดมาพร้อมกับสินค้าแต่แรก หรือเป็นราคาที่เสียไปเพื่อให้สินค้านั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมขาย ยกตัวอย่างเช่น จะขายเสื้อยืดขายมินิมอล ต้นทุนขายก็จะมีค่าเสื้อ ค่าออกแบบลายสกรีน แล้วก็ค่าบล็อกสกรีน ประกอบรวมกัน ถ้าขาดอะไรสักอย่างไป เราก็จะไม่มีเสื้อมินิมอลสวยๆ มาขายลูกค้าจริงไหมคะ
หลังจากนั้น ก็จะเป็นหน้าที่ของค่าใช้จ่ายในการขาย เพื่อทำให้ลูกค้าเห็น แล้วก็เข้ามาซื้อให้ได้มากที่สุด เช่น จ้างตากล้องถ่ายรูปเสื้อยืดสวย ๆ จ้างกราฟิกมาขึ้นภาพโฆษณา จ้าง Ads Optimizer มายิงแอด เป็นต้นค่ะ
เห็นไหมคะ ต้นทุนขายจะเกิดขึ้นก่อนที่ของผลิตเสร็จพร้อมขาย ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายจะเกิดขึ้นหลังจากที่สินค้าผลิตพร้อมขายแล้วนั่นเองค่ะ หากพ่อค้า แม่ค้าคนไหนดูไม่ออกว่าค่าใช้จ่ายในการขายเป็นรายการไหน เราสามารถเช็กได้ในงบการเงินค่ะ
ค่าใช้จ่ายในการขายเช็กตรงไหนในงบการเงิน?
งบการเงินมีหลายส่วนมากเลยค่ะ ทั้งงบดุลเอย งบกระแสเงินสดเอย แล้วก็งบกำไรขาดทุน … ถูกต้องไหมคะ? วิธีเช็กค่าใช้จ่ายในการขายในบัญชีของคุณง่าย ๆ เลยก็คือ ดูที่งบกำไรขาดทุน ค่ะ
งบกำไรขาดทุนมาจาก รายได้ – รายจ่าย = กำไร ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขายถือเป็นรายจ่ายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมักจะปรากฏในบรรทัดต่อไปรองจากต้นทุนขายอยู่เสมอ เนื่องจากมีสัดส่วนของเงินที่ค่อนข้างสูงกว่าค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ค่ะ (ไม่นับต้นทุนนะ รายนั้นต้องเยอะที่สุดอยู่แล้ว)
เช่น ถ้าจะดูว่า ค่า LCP Fee ขายของ Lazada ที่หมายความคือค่าใช้จ่ายโปรแกรมเงินคืนนั้นอยู่ตรงไหน เพียงแค่ไปดูที่รายการค่าใช้จ่ายในการขายที่ส่วนของรายจ่ายของร้านค้าออนไลน์เท่านั้นเองค่ะ
หากใครยังไม่เคยเห็นหน้าตางบการเงินนี้เลย ก่อนอื่นต้องเริ่มจาก ทำบัญชีขายของออนไลน์ก่อนเลยค่ะ
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ตัวอย่างบัญชีขายของออนไลน์ เข้าใจง่าย ทำตามได้ด้วยตัวเอง!
สรุป LCP Fee คืออะไร? เปิดค่าใช้จ่ายการขายที่แม่ค้า Lazada ห้ามมองข้าม!
LCP Fee Lazada คือ ค่าธรรมเนียมของการใช้บริการโปรแกรมเงินคืนที่พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ทุกคนต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าขนส่ง และค่าบริการทั้งหมดใน Lazada ด้วย เพราะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขายที่มักจะโดนชาร์จไปหลายบาทเลยทีเดียว หากวางแผน และบริหารการเงินในร้านค้าออนไลน์ไม่ดี อาจส่งผลต่อการได้กำไรที่น้อยลง และมีโอกาสที่จะขาดทุนได้ค่ะ
ทำไมขายของออนไลน์แต่ไม่มีกำไรซักที บางครั้งเราก็อาจจะมองข้ามค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆไปค่ะ หรืออาจจะลองมาทบทวนวิธีคิดกำไรสินค้า ช่วยให้ธุรกิจไม่ขาดทุน กันได้ที่ลิงค์นี้เลย
ขายดีแต่ไม่มีกำไร! มารู้จัก 2 วิธีคิดกำไรสินค้า ช่วยให้ธุรกิจไม่ขาดทุน
พ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ ต้องการปรึกษาการบริหารจัดการเงินในร้าน ติดต่อผู้เชี่ยวชาญ Line: @zerotoprofit
ติดตาม Zero to Profit ช่องทางอื่นได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit