การทำธุรกิจนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องหมั่นเช็คทุกๆรายละเอียดภายในธุรกิจ เพื่อให้รู้และเข้าใจในทุกๆแง่มุมที่เกิดขึ้นกับธุรกิจของตนเอง และช่วงเวลาสิ้นปีแบบนี้เป็นอีกช่วงที่ผู้ประกอบการควรมาตรวจเช็คสุขภาพธุรกิจภายในปีที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไรบ้าง เจอปัญหาอะไรบ่อยที่สุด ปัญหาใหญ่คืออะไร วิธีแก้ไข ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหา รวมถึงวิเคราะห์รายได้ กำไร ช่วงที่ผ่านมา และเรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้นภายในธุรกิจ เช่น คำชมจากลูกค้า ความถึงพอใจของผู้เข้ารับบริการต่างๆ เป็นต้น เพื่อนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการทำธุรกิจในอนาคต
เช็คสุขภาพธุรกิจ
การเช็คสุขภาพธุรกิจก็เหมือนกับการตรวจสุขภาพประจำปีของเรา หากตรวจพบว่ามีส่วนไหนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ หรือพบกับจุดสำคัญๆที่ต้องเร่งจัดการก็จะได้เท่าทันและสามารถควบคุมดูแลได้อย่างตรงจุดมากขึ้น หากไม่มีการตรวจเช็คสุขภาพภายในธุรกิจเลย จะก่อให้เกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงได้เช่นกัน เช่น ไม่รู้ถึงปัญหาที่กำลังเผชิญ, แก้ไขได้ไม่ตรงจุด, ไม่เห็นปัญหา, การเงินภายในธุรกิจปั่นป่วน เป็นต้น และนี่เองจึงเป็นเหตุผลสำคัญๆที่เราควรมีช่วงเวลาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งในการทำกระบวนการนี้ ยิ่งข้อมูลละเอียดยิ่งเป็นผลดี แนะนำว่าให้มีการทำสรุปและเก็บบันทึกข้อมูลเอาไว้แยกเป็นรายปี เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ และสะดวกต่อการกลับมาอ่านย้อนหลังนั่นเอง
ตรวจเช็คแล้วพบว่าเจอปัญหามากมาย
ต่อมาหากตรวจเช็คแล้วพบว่าเจอปัญหามากมายแบบที่ไม่เคยรู้มาก่อน เป็นปัญหาเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง มองข้ามมันมาตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา อย่างแรกให้นำข้อมูลที่มีรวบรวมให้เยอะที่สุด และนำมาวิเคราะห์ต่อว่าจุดไหนบ้างที่เป็นฉนวนปัญหา และหาวิธีแก้ที่เหมาะสมที่สุด จากนั้นถ้าพบว่ามีข้อมูลที่เป็นประโยชน์และดีกับธุรกิจหลายส่วน ให้นำข้อดีเหล่านั้นรักษาและพัฒนาให้ดีขึ้นยิ่งกว่าเดิมในปีถัดๆไป เพราะการทำธุรกิจนั้นย่อมต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ หากมีช่วงที่ละเลยต่อการพัฒนาธุรกิจ ผู้บริโภคจะรับรู้ได้ตัวพวกเขาเอง หากไม่เป็นไปในแบบที่ผู้บริโภคต้องการแบบที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้ จะส่งผลให้ผู้บริโภคไม่กลับเข้ามาซื้อหรือเข้ารับบริการอีกต่อไป แน่นอนว่าส่งผลเสียต่อธุรกิจอย่างชัดเจนที่สุด
ข้อแนะ
ข้อแนะนำต่อมาควรจัดทำเรทติ้ง หรือการให้คะแนนประจำปีกับธุรกิจตนเองเอาไว้ด้วย เพื่อเวลานำบันทึกมาอ่านจะได้เห็นข้อมูล เกณฑ์การให้คะแนนนั้นต้องเป็นไปตามความจริงไม่เข้าข้างตนเอง การที่ให้คะแนนอย่างตรงไปตรงมา จะแสดงถึงศักยภาพของตัวผู้ประกอบการ บุคลากร และสภาพของธุรกิจด้วย ทางที่ดีต้องมีความซื่อสัตย์ในการให้คะแนน เกณฑ์ง่ายๆที่สามารถให้คะแนนได้คือ
ดีมากที่สุด = 5
ดีมาก = 4
ปานกลาง 3
น้อย = 2
น้อยที่สุด = 1
ก็เป็นการให้คะแนนแบบง่ายๆ เข้าใจได้อย่างดีอีกด้วย
การเงิน คือเรื่องใหญ่ของธุรกิจ ต้องบอกก่อนว่าธุรกิจแต่ละขนาด แต่ละประเภทก็มีการใช้เงินที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการพิจารณาการใช้เงินของผู้ประกอบการก็ต่างกันออกไปด้วย ไม่มีตายตัว และหน้าที่ที่ผู้ประกอบการไม่ควรลืม ไม่ควรมองข้าม จำเป็นต้องทำเป็นระยะคือการตรวจเช็คสุขภาพการเงินภายในธุรกิจของตนเอง เพื่อจะประเมินได้ว่า ธุรกิจของเรานั้นเป็นอย่างไร สุขภาพดี หรือว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ หากพบว่าสถานการณ์น่าเป็นห่วงต้องรีบแก้ไขก่อนจะสายเกินไป ผู้ประกอบการห้ามลืม! ตรวจเช็คสุขภาพการเงินในธุรกิจ
ติดตาม Zero to Profit ช่องทางอื่นได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit