เคยสังเกตกันไหมคะว่า สินทรัพย์ที่ซื้อมาในราคาที่สูง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ รถยนต์ หรืออาคาร นักบัญชีบอกเสมอว่าต้องคิดค่าเสื่อมราคา แล้วเจ้าค่าเสื่อมราคาเนี่ยมันคืออะไรกันนะ คำนวณยังไง วางแผนแบบไหนลองมาทำความเข้าใจกัน
1. ค่าเสื่อมราคาคืออะไร
ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) คือ ค่าใช้จ่ายที่ถูกตัดจากมูลค่าสินทรัพย์ระยะยาวเพราะเกิดการเสื่อมค่าตลอดอายุการใช้งาน
ค่าเสื่อมราคานี้ มีลักษณะพิเศษ ซึ่งต้องตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่ได้ใช้ประโยชน์ในรอบบัญชีปีนั้น ๆ
คิดตามง่ายๆ แบบนี้ว่า เมื่อไรเราซื้อของราคาแพงเข้ามาในกิจการ และใช้งานไปในแต่ละวัน ของชิ้นนั้นก็มีการเสื่อมค่าลงไปเรื่อยๆ ทุกทีๆ ค่ะ ดังนั้น การเสื่อมค่านี้ล่ะ เราจึงเรียกว่าค่าเสื่อมราคา ซึ่งเอาไปทยอยหักออกจากราคาสินทรัพย์ แล้วก็จะทำให้มูลค่าที่เหลืออยู่ของสินทรัพย์ลดลงเรื่อยๆ ตามกาลเวลานั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น ซื้อตึกมาในราคาทุน 5 ล้านบาท มีระยะเวลาการใช้สถานที่ 5 ปี มีค่าเสื่อมราคา 1 ล้านบาท ผ่านไปหนึ่งปี ตึกมีมูลค่าลดลง 1 ล้านบาท ผ่านไปอีก 1 ปี มูลค่าก็ลดลงอีก 1 ล้านบาท จนกระทั่งครบ 5 ปี มูลค่าตึกก็จะเหลือ 0 บาทนั่นเองค่ะ
แต่ในความเป็นจริงวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา อาจมีราคาซาก (มูลค่าคงเหลือ) ที่มากกว่า 0 บาท และอายุการใช้งานอาจแตกต่างกันไปแล้วแต่การประเมิน ซึ่งนักบัญชีสามารถช่วยเราคำนวณได้ไม่ยากเลย
2. ค่าเสื่อมราคาคือต้นทุนคงที่หรือผันแปร ?
หลายคนน่าจะสงสัยว่า พอซื้อทรัพย์สินมา เกิดค่าเสื่อมราคาแล้ว เจ้าค่าเสื่อมนี้ เป็นค่าใช้จ่ายแบบไหน คงที่หรือผันแปรกันนะ
เฉลยๆ ค่าเสื่อมราคาในกิจการเป็นต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) นั่นคือ ไม่ว่ากิจการจะขายได้เยอะหรือได้น้อยแค่ไหน ค่าเสื่อมราคาก็จะยังคงมีเท่ากันทุกเดือน
นั่นหมายความว่า ถ้าซื้อของมาเยอะๆ ก็จะทำให้ธุรกิจมีต้นทุน Fixed Cost (FC) ไปเรื่อยๆ แบบไม่ต้องสงสัย แล้วเมื่อไรก็ตามที่ยอดขายได้น้อยจัด ก็อาจทำให้กิจการขาดทุนแบบไม่ทันตั้งตัว เพราะค่าเสื่อมนั้นเกิดตลอดเวลาไม่ว่าจะขายได้มากหรือน้อยนั่นเองค่ะ
สังเกตุจากภาพนี้ FC = ค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Cost) มีรายจ่ายแบบนี้เยอะๆ เจ้าของธุรกิจก็ยิ่งต้องขยันทำงานให้มีรายได้มาทบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วยนะคะ
การคิดคำนวณค่าเสื่อมราคาสามารถคิดได้หลายวิธี แต่จะมีวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุด ถ้าอยากรู้ว่าเป็นวิธีอะไร ลองอ่านเนื้อหาในหัวข้อถัดไปได้เลยค่ะ
3. ตัวอย่างวิธีการคิดค่าเสื่อมราคา
วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาสามารถคิดได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นวิธีเส้นตรง ยอดคงเหลือลดลง วิธีผลรวมจำนวนปี หรือวิธีจำนวนผลผลิต แต่ส่วนใหญ่เจ้าของกิจการหลากคนมักจะใช้วิธี “เส้นตรง” มากที่สุดค่ะ เพราะว่าเป็นวิธีที่เข้าใจได้ง่าย แถมไม่ซับซ้อนอีกด้วยค่ะ
การคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรงจะมีสูตรในการคำนวณอยู่นะคะ ก็คือ
ยกตัวอย่างเช่น
กิจการซื้ออุปกรณ์ทำงานในราคา 100,000 บาท มีอายุการใช้งาน 5 ปี มีมูลค่าคงเหลือ 5,000 บาท จะมีค่าเสื่อมราคาปีละ 19,000 และสามารถนำค่าเสื่อมราคานี้ไปบันทึกในบัญชีกิจการได้นั่นเองค่ะ
4. ตัวอย่างธุรกิจที่มีค่าเสื่อมราคาสูงๆ
มักจะพบในธุรกิจขนาดใหญ่ที่ใช้สินทรัพย์ในการประกอบกิจการจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ค่าเสื่อมราคาสูงขึ้นตามไปด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจสายการบินที่มีเครื่องบินเยอะ เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสาร และเครื่องบินแต่ละลำราคาไม่ใช่น้อย แบบนี้ค่าเสื่อมราคาก็จะเกิดขึ้นแบบอลังกาลงานสร้างเช่นกัน
หรือธุรกิจโรงแรมที่มีการก่อสร้างอาคารโรงแรมมูลค่ามหาศาล ก็จะมีค่าเสื่อมราคาสูงตามไปด้วยค่ะ
สรุป
จะเห็นได้ว่า ค่าเสื่อมราคาเกิดขึ้นหลังจากซื้อสินทรัพย์ในนามบริษัท เพราะทุกอย่างมักมีการเสื่อมสภาพตามกาลเวลาเสมอค่ะ โดยค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ เมื่อผ่านไปแต่ละปี ทำให้เรามีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น ใครที่เพิ่งซื้อของราคาแพงเข้าบริษัท อย่าลืมวางแผนเรื่องนี้ด้วย เพราะมันคือ ค่าใช้จ่ายคงที่ ที่จะทำให้กำไรของบริษัทลดลงนะคะ
สำหรับใครที่อยากเข้าใจเรื่องค่าเสื่อมราคาเพิ่มเติม ลองเข้าไปศึกษาได้ที่นี่นะคะ
เริ่มต้นจดทะเบียนบริษัท รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อ Line: @zerotoprofit