อะไรอะไรก็แพง ตั้งแต่ข้าวแกงยันน้ำมัน
แล้วเจ้าของธุรกิจเอง จะสู้กับรายจ่ายที่แพงขึ้นทุกวันได้อย่างไร เมื่อสู้ไปเท่าไร..รายจ่ายก็สู้กลับทุกที
ในวันนี้ ถ้าใครกำลังประสบปัญหาเรื่องรายจ่ายอยู่ อยากควบคุมรายจ่ายดีๆ แต่ไม่รู้วิธีว่าทำยังไง…ไม่ต้องกังวลใจไป Zero to Profit มีวิธีวางแผนรายจ่ายดีๆ มาแนะนำกัน
ทำไมต้องวางแผน ?
ถ้าลงสนามแล้วไม่ได้ฝึกซ่อม แข่งเท่าไรก็แพ้วันยังค่ำ ฉะนั้น ถ้าอยากชนะรายจ่าย ไม่ให้สู้กลับได้เราจึงต้องเริ่มต้นตั้งแต่ยังไม่จ่ายด้วยการ “วางแผน” ไว้ซะก่อนไงล่ะ
ตั้งงบประมาณรายจ่าย
วิธีวางแผนรายจ่ายที่ดี คือ การตั้งงบประมาณสำหรับรายจ่ายต่างๆ ของธุรกิจ ซึ่งเกิดจาก 2 ส่วนหลักๆ คือ
- ประมาณการ = คาดการณ์ว่าอนาคตจะจ่ายอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร มักใช้กับรายจ่ายที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นหรือเรื่องใหม่ๆ ที่อยากจะจ่ายไปเพื่อธุรกิจ
- ประสบการณ์ = สำหรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นประจำ บ่อยๆ บางทีประสบการณ์จากในอดีตก็สอนเราได้ว่าควรจะตั้ง Budget ไว้ที่เท่าไร
2 รายจ่ายที่ต้องตั้งงบประมาณ
1.รายจ่ายเพื่อการลงทุน
การลงทุนอาจมีได้ตลอดช่วงอายุของธุรกิจ เช่น เปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ ต่อเติมโรงงาน ขยายการผลิต
ไม่ว่าจะลงทุนอะไร ทุกครั้งเจ้าของธุรกิจก็ควรจะตั้งงบประมาณสำหรับโปรเจคไว้ด้วยว่า
- เงินที่จะใช้เท่าไร
- รายได้ที่จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร
- ระยะเวลาคืนทุนนานเท่าไร
บางครั้งพอเราคิดงบประมาณสำหรับการลงทุนดีๆ แล้ว เราอาจจะเปลี่ยนใจไม่ลงทุนซะงั้น หรือว่าเปลี่ยนเป็นเช่าดีกว่าก็เป็นได้ แต่ถ้าไม่เคยคิดเรื่องงบประมาณไว้เลย จ่ายเงินก้อนใหญ่ไปตูมๆ มีหวังนั่งแก่ว เพราะออเดอร์ไม่มา ทำไปไม่คุ้มทุนสักที แบบนี้แก้ไขลำบากเลยล่ะ
2.รายจ่ายเพื่อดำเนินงาน
รายจ่ายเพื่อการดำเนินงาน คือ รายจ่ายที่ทำให้ธุรกิจรันได้อย่างสมู้ท as silk ในทุกๆ วัน ยกตัวอย่างเช่น ค่าเช่าโรงงาน ค่าเช่าสำนักงาน ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงคนผลิต เป็นต้น
วิธีแบ่งประเภทรายจ่ายให้วางแผนง่ายขึ้น เราแบ่งเป็น 2 ตัวแบบนี้
- รายจ่ายคงที่ คือ รายจ่ายที่จ่ายทุกเดือนเท่าๆ กัน เช่น ค่าเช่า ค่าเงินเดือนพนักงานประจำ ที่เราคาดการณ์จำนวนเงินได้ง่ายๆ แค่ดูจากสัญญาที่เคยทำไว้ หรือบัญชีที่จดไว้ทุกเดือน
- รายจ่ายผันแปร คือ รายจ่ายที่ผันแปรไปตัวแปรอื่น เช่น ค่าวัตถุดิบผันแปรกับยอดสั่งซื้อ ฉะนั้น ถ้าอยากประมาณการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ดีก็ต้องรู้จำนวนการสั่งซื้อเสียก่อน และค่าใช้จ่ายผันแปรชนิดอื่น ถ้าจะวางแผนให้ได้ดีก็จะต้องเข้าใจและรู้ว่าตัวแปรต้นทางคืออะไรไงล่ะ
จ่ายจริงก็ต้องจด
วางแผนเสร็จอย่าเพิ่งเลิกรา สุดท้ายเราต้องทำตามแผนให้ได้ แล้วคอยวัดผลตัวเองอยู่เสมอ ว่าจ่ายเงินไปแล้วยังอยู่ใน Budget ไหม
วิธีวัดผลตัวเองจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าเราไม่จดรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงแล้วเอาไปเปรียบเทียบกับแผนที่เคยวางไว้
ที่สำคัญนอกเหนือจากการจดบัญชี อย่าลืมเก็บเอกสารทางบัญชีไว้ให้เรียบร้อย และเพื่อป้องกันการปวดหัว กำหนดรอบจ่ายเงินไว้ล่วงหน้า แบบนี้ช่วยแก้ปัญหาได้ดีขึ้นเยอะเลย
ขั้นตอนทั้งหมดนี้เป็นวิธีวางแผนสู้กับรายจ่ายซึ่งแรกๆ อาจจะรู้สึกว่าขัดใจ ทำไมหลายขั้นตอนนัก แต่ว่าถ้าเราทำแบบนี้เป็นนิสัยแล้วทำวนลูฟไปเรื่อยๆ ทุกปีทุกเดือน รับรองเลยว่า ไม่ว่ารายจ่ายจะมาไม้ไหน เราก็สู้กลับได้ไม่ต้องกลัวแพ้อีกแล้วนะ
ปรึกษาปัญหาบัญชีธุรกิจ หาโปรแกรมบัญชีที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ ติดต่อ
Line: @zerotoprofit หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit