ค่าใช้จ่ายคืออะไร จ่ายเงินทุกครั้งเป็นค่าใช้จ่ายไหม

ค่าใช้จ่ายคืออะไร จ่ายเงินทุกครั้งเป็นค่าใช้จ่ายไหม

ค่าใช้จ่ายไม่ใช่เรื่องเดียวกับการจ่ายเงิน  

เจ้าของกิจการมักเข้าใจผิด ว่าการจ่ายเงินทุกครั้งเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า “ค่าใช้จ่าย” มีความหมายซับซ้อนกว่านั้น บ่อยครั้งที่เจ้าของธุรกิจเข้าใจเรื่องการจ่ายเงินผิดไป เลยทำให้เราตัดสินใจผิดพลาด

จริงๆ แล้วค่าใช้จ่ายคืออะไร? Zero to Profit จะมาอธิบายแบบง่ายให้ทุกคนเข้าใจ และที่สำคัญเรามีตัวอย่างศัพท์บัญชีค่าใช้จ่ายที่เจ้าของธุรกิจมักเข้าใจผิดบ่อยด้วยค่ะ

ค่าใช้จ่ายคืออะไร?

ค่าใช้จ่าย คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งในทางบัญชีเราจะถือว่ารายการนี้เป็นค่าใช้จ่ายก็ต่อเมื่อ มีการใช้ประโยชน์

ดังนั้น เมื่อธุรกิจได้ใช้ประโยชน์แล้ว ค่าใช้จ่ายทางบัญชีก็เกิดขึ้นทันที โดยไม่สนใจว่าจะจ่ายเงินช้าหรือเร็วค่ะ

ค่าใช้จ่ายคืออะไร
ค่าใช้จ่ายคืออะไร

ตัวอย่างง่ายๆ

ปกติค่าโทรศัพท์รายเดือนธันวาคม 2566 เรามักจะได้ใช้บริการโทรศัพท์ก่อน แล้วต้นเดือนมกราคม 2567 เครือข่ายโทรศัพท์ถึงจะส่งใบแจ้งหนี้มาให้เรา แบบนี้ถือว่าเกิดค่าใช้จ่ายแล้วในธุรกิจประจำเดือน ธค. 66 ค่ะ แม้ว่าเราจะจ่ายเงินเค้าในเดือน ม.ค. 67 หรือช้ากว่านั้นก็ตาม

จ่ายเงินออกไป เป็นอะไรได้บ้าง?

พอจะเข้าใจแล้วว่าค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นได้เมื่อใช้ประโยชน์ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเวลาเดียวกันกับเงินที่จ่ายออกไปเสมอ

ทีนี้เรามาทำความเข้าใจกันต่อ ว่าทุกครั้งที่จ่ายเงินออกไป ถือเป็นค่าใช้จ่ายเสมอไปหรือไม่?

คำตอบ ก็คือ ไม่เสมอไปค่ะ เพราะการจ่ายเงินออกไป มันอาจเป็นไปได้ 4 รูปแบบนี้

ซื้อสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายลดหนี้จ่ายปันผล
ตัวอย่างจ่ายเงิน 1 ล้าน ซื้อเครื่องจักรใช้ได้ 10 ปีจ่ายเงิน 1 ล้าน เป็นค่าแรงพนักงาน 50 คน ประจำเดือนนี้จ่ายเงิน 1 ล้าน คืนหนี้ที่ยืมแม่มาลงทุนในธุรกิจ เมื่อปีก่อนจ่ายเงิน 1 ล้าน จากผลกำไรสะสมมา 3 ปี

ถ้าลองสังเกตุดีๆ เงินหายจากบัญชี 1 ล้านบาทเท่ากัน แต่ทว่าทั้ง 4 ตัวอย่างนี้ มีผลกระทบกับบัญชีแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงค่ะ

  • ซื้อสินทรัพย์ = เกิดเมื่อซื้อของแล้วใช้ประโยชน์ได้อีกยาวๆ ในอนาคต
  • เป็นค่าใช้จ่าย = เกิดเมื่อใช้ประโยชน์ได้ทันทีเลย ตอนนี้ เดือนนี้
  • ลดหนี้ = เป็นการคืนเงิน ที่เมื่อก่อนเคยเป็นหนี้ใครไว้
  • จ่ายปันผล = เป็นการลดกำไรสะสมลง เพราะเคยทำกำไรจากธุรกิจได้ในอดีต

ดังนั้น ทุกครั้งที่จ่ายเงิน ลองคิดดูดีๆ นะคะ ว่าเงินของเรามันหายไปกับช่องใด ใน 4 ประเภทนี้

3 คำศัพท์ค่าใช้จ่าย (ที่อาจไม่ใช่ค่าใช้จ่าย) ผู้ประกอบการต้องรู้

ทำความเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายไปแล้วว่ามันคืออะไร ทีนี้จะชวนทุกคนมารู้จักคำศัพท์บัญชี ที่มีคำว่าค่าใช้จ่าย แต่บางทีอาจจะไม่ได้เป็นค่าใช้จ่ายเสมอไป เอ๊ะ..ยังไงกันนะ

ก่อนจะงงไปกว่าเดิม ลองมาดูกันทีละตัวดีกว่าค่ะ

1.ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) คือ เงินที่จ่ายออกไปสำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าเป็นสินทรัพย์ในงบการเงินประเภทหนึ่ง (ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเหมือนชื่อ)

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

ยกตัวอย่างเช่น

ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ จำนวน 24,000 บาท สำหรับช่วงเวลา 1/12/2566 – 30/11/2566 รวมทั้งสิ้น 12 เดือน

ปกติแล้วโบรกเกอร์จะโทรมาเสนอให้เราจ่ายค่าเบี้ยประกันก่อนที่กรมธรรม์เดิมจะหมดอายุ เพื่อจะได้มีความคุ้มครองแบบต่อเนื่อง

สมมติว่าเราโอนเงินไปจ่ายวันที่ 30/10/2566 จำนวน 24,000 บาท

ถ้าสิ้นปีนี้ 2566 ถ้านักบัญชีปิดงบการเงินมาให้ เจ้าของธุรกิจจะเห็นว่า นักบัญชีแบ่งรายจ่ายออกเป็น 2 ส่วน ก็คือ

  1. ค่าใช้จ่าย เบี้ยประกันภัย = 24,000×1/12 = 2,000 บาท
  2. ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าเบี้ยประกันภัย (สินทรัพย์) = 24,000×11/12 = 22,000 บาท

ดังนั้น ย้ำอีกครั้งค่ะ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย แต่เป็นสินทรัพย์ อย่าจำสับสนนะ

2. ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) คือ รายการที่ธุรกิจใช้ประโยชน์ไปแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้รับใบแจ้งหนี้ในงวดนั้น และยังไม่ได้จ่ายเงินออกไปให้กับซัพพลายเออร์

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

ตัวอย่างเช่น

ค่าโทรศัพท์ทำสัญญารายเดือนไว้กับ AIS ใช้งานไปแล้วสำหรับเดือน 10/2566 แต่ว่า AIS จะแจ้งหนี้มาก็วันที่ 7/11/2566

ดังนั้น สิ้นเดือน 31/10/66 นักบัญชีจะบันทึกว่าบริษัทมี

ค่าใช้จ่ายค่าโทรศัพท์ เกิดขึ้น 587.43 บาท

คู่กับค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (หนี้สิน) 587.43 บาท

และเมื่อถึงเวลา เราก็ต้องจ่ายชำระค่าใช้จ่ายตัวนี้ไปให้ตรงตามกำหนด ก่อนที่จะถูก AIS ตัดสัญญาณโทรศัพท์นะคะ

3. ค่าใช้จ่ายต้องห้าม

ค่าใช้จ่ายต้องห้าม (Nontaxable Expenses) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทางบัญชี แต่ทางภาษีบอกว่า หยุดก่อน ห้ามคิดรายการนี้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีโดยเด็ดขาด

ค่าใช้จ่ายต้องห้าม
ค่าใช้จ่ายต้องห้าม

จากที่ทุกคนน่าจะพอรู้กันอยู่แล้วว่า บริษัทนั้นจะต้องจ่ายภาษีที่เรียกว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคล

โดยภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากกำไรทางภาษี x อัตราภาษี

และเจ้ากำไรทางภาษีนี่แหละ มีตัวปรับปรุงที่เรียกว่า “ค่าใช้จ่ายต้องห้าม” ที่จะทำให้กำไรทางภาษีเพิ่มขึ้น

พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเดิมเคยมีกำไรทางบัญชี คำนวณจาก รายได้ – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 1 ล้านบาท แล้วเกิดพบว่าในนี้มีบางส่วนจำนวน 200,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

ทำให้ กำไรทางภาษีจะเท่ากับ = 1 ล้านบาท + 200,000 บาท = 1.2 ล้านบาท

สุดท้าย กำไรทางภาษีเยอะขึ้น ทำให้กิจการต้องจ่ายภาษีเยอะขึ้นโดยปริยาย (แม้ว่าจะจ่ายเงินออกไปจริงๆ นะ)

ลำดับค่าใช้จ่ายต้องห้าม
1รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล
2เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควรเป็นรายจ่ายต้องห้าม
3รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่นเป็นรายจ่ายต้องห้าม
4รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
5รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายต้องห้ามที่เจอบ่อยๆ เช่น

สรุป

ทำความเข้าใจว่าค่าใช้จ่ายคืออะไรไปแล้ว ทุกคนน่าจะเคลียร์กับประเด็นที่ว่า

  1. จ่ายเงินทุกครั้งอาจจะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเสมอไป (เพราะต้องดูที่การใช้ประโยชน์เป็นหลัก)
  2. รู้จักคำศัพท์ ที่แม้จะมีคำว่าค่าใช้จ่ายแผงอยู่ แต่บางทีก็อาจจะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายก็ได้นะ

เมื่อเข้าใจแบบนี้ คิดว่าทุกท่านน่าจะมีสกิล คุยกับบัญชีรู้เรื่อง และถัดไปถ้าใครอยากเก่งขึ้น แนะนำลองทำความเข้าใจเรื่องวิธีประเภทค่าใช้จ่ายต่อ เพื่อจะได้เอาไปวิเคราะห์และพัฒนาธุรกิจของตัวเองได้ดียิ่งขึ้นนะคะ

เข้าใจค่าใช้จ่ายเจาะลึก รู้กำไร Real-time หาโปรแกรมบัญชีดีๆ ติดต่อ

Line: @zerotoprofit

ติดตาม Zero to Profit ได้ที่

Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/

Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit

ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บบล็อก Zero to Profit ที่อยากให้เรื่องบัญชีเป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัวสำหรับเจ้าของธุรกิจ