ลงทุนในกิจการ มีผลกำไรดี อยากจ่ายเงินปันผลไม่ใช่เรื่องผิด
แต่จะจ่ายเงินปันผลอย่างไรดี ให้ไม่มีปัญหาตามมาทีหลัง ลองสำรวจกันตรงนี้สักนิด
1.จ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมเสมอ
หลายคนเข้าใจผิดว่า แค่มีกำไรในปีนี้ หรือมีเงินสดเหลือเพียงพอ ก็สามารถจ่ายเงินปันผลได้แล้ว แต่จริงๆแล้ว การจ่ายเงินปันผล ต้องจ่ายจากกำไรสะสมเท่านั้น และกำไรสะสมคืออะไร ลองมาดูตัวอย่างนี้กัน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าปี x1 ขาดทุน 200,000 บาท ปี x2 กำไร 100,000 บาท จะจ่ายเงินปันผลไม่ได้เพราะมีขาดทุนสะสมอยู่ -100,000 บาท
แต่ถ้าในปี x1 มีกำไร 150,000 บาท ปี x2 มีขาดทุน -50,000 บาท ก็ยังจ่ายเงินปันผลได้ เพราะแม้จะมีขาดทุนในปีนี้ แต่ก็ยังกำไรสะสมเหลืออยู่ 150,000 บาท
2.อย่าลืมทำตามกฎหมายให้เรียบร้อย
ถ้าทำธุรกิจแบบนิติบุคคล การจ่ายปันผลแต่ละครั้งจะต้องทำตามที่กฎหมายกำหนดด้วย ในที่นี้ขอยกตัวอย่างบริษัทจำกัด ถ้าจะจ่ายเงินปันผล จะต้องทำตามขั้นตอนนี้ให้ครบถ้วน
- ประกาศหนังสือพิมพ์ ทั้งหมด 2 ครั้ง คือ ประกาศเชิญประชุมและประกาศจ่ายเงินปันผล
- มีมติที่ประชุม อนุมัติการจ่ายเงินปันผล
- กันเงินสำรอง กฎหมายกำหนดไว้ว่า บริษัทต้องจัดสรรเงินไว้เป็นทุน สำรองอย่างน้อย 1/20 ของจำนวนผลกำไร จนกว่าทุนสำรองนั้นจะมีจำนวนถึง 1/10 จำนวนทุน
ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีกำไรสะสมอยู่ 150,000 บาท และทุนจดทะเบียนเท่ากับ 1,000,000 บาท ถ้าอยากจ่ายเงินปันผล จะต้องสำรองเงินไว้ 150,000*1/20 = 7,500 บาท ก่อนจ่ายปันผล และสำรองทุกครั้งจนกว่าจะครบ 1,000,000*1/10 = 100,000 บาท ตามที่กฎหมายกำหนด
และเพิ่มเติมในส่วนภาษี อย่าลืมว่าทุกครั้งที่จ่ายปันผล จะต้องมีหักภาษี ณ ที่จ่าย ณ อัตรา 10% ส่งสรรพากรด้วยนะ
3.จ่ายเงินแล้วมีสภาพคล่องไหม
เรื่องนี้แม้กฎหมายไม่ได้กำหนด แต่เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยที่เจ้าของกิจการต้องคอยติดตาม เพราะทุกครั้งที่จ่ายปันผล หมายถึงกระแสเงินสดก้อนใหญ่ถูกจ่ายชำระออกไปให้แก่ผู้ถือหุ้น ถ้าจ่ายเงินปันผลไปแล้ว ไม่มีสภาพคล่อง ปัญหาก็จะย้อนกลับมาสู่กิจการว่า สุดท้ายแล้วเราจะเอาเงินจากไหนมาหมุนเวียนใช้จ่าย
ยกตัวอย่างเช่น กิจการมีกำไรสะสม 150,000 บาท มีเงินสดอยู่ 200,000 บาท มีค่าใช้จ่ายรายเดือน 100,000 บาท
และคิดว่าจะจ่ายเงินปันผลทั้งหมดจากกำไรสะสมหลังหักเงินสำรอง = 150,000 – (150,000*1/20) = 142,500 บาท
แปลว่าเมื่อจ่ายเงินปันผลแล้ว กิจการจะมีเงินสดเหลืออยู่ 200,000 – 142,500 = 57,500 บาท ในขณะที่กิจการมีค่าใช้จ่ายรายเดือน 100,000 บาท
เปรียบเทียบกันง่ายๆ แค่นี้ ก็พอจะรู้แล้วว่าจ่ายเงินปันผลไป สุดท้ายก็เหลือเงินสดแค่ 57,500 บาท ไม่พอค่าใช้จ่าย 100,000 บาท แน่นอน กลายเป็นว่ากิจการขาดสภาพคล่องโดยทันที
รู้อย่างงี้แล้ว ก่อนจ่ายเงินปันผล ลองสำรวจตัวเองสักนิดว่า ผ่าน Check-list ทั้ง 3 ข้อหรือยัง
ถ้ายังไม่ผ่านข้อไหน แนะนำให้ทบทวนและแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนที่จะจ่ายเงินปันผล
เพราะคงไม่มีผู้ถือหุ้นคนไหนได้เงินปันผลไป พร้อมกับปัญหาอย่างแน่นอน
อ่านกฎหมายเกี่ยวกับจ่ายเงินปันผลเพิ่มเติม (ข้อ5)
https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=951
ปรึกษาปัญหาบัญชีธุรกิจ หาโปรแกรมบัญชีที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ ติดต่อ
Line: @zerotoprofit หรือhttps://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ช่องทางอื่นได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit