ขายของแล้วเก็บเงินได้เร็วแค่ไหน คำนวณอย่างไร?

ขายของแล้วเก็บเงินได้เร็วแค่ไหน คำนวณอย่างไร?

ขายของแล้ว ใครๆ ก็อยากเก็บเงินได้

แต่เก็บเงินได้ ไม่ได้แปลว่า เก็บเงินเร็ว

ถ้าเก็บเงินได้ แต่ช้า ก็จะมีปัญหาขาดสภาพคล่อง

แล้วถ้าอยากเก็บเงินได้ และเก็บเงินเร็วด้วย จะต้องเริ่มต้นจากอะไร ในวันนี้เราจะมาหาคำตอบกัน

คำนวณให้เป็นก่อนว่าเราเก็บเงินได้เร็วแค่ไหน

นั่นสิ ประกอบกิจการมาตั้งนาน เก็บเงินได้เร็วแค่ไหน ยังไม่เคยรู้เลย

งั้น…ไม่เป็นไร ลองมาเริ่มต้นจากสูตรง่ายๆ ตรงนี้กัน

ระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้  =     (ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย/รายได้รวม) *365

ระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้ (Days of Sales Outstanding: DSO) เป็นการคำนวณระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้ที่จะช่วยให้เจ้าของกิจการรู้ว่า หลังจากขายของออกไปแล้ว กิจการใช้เวลากี่วันจึงจะเก็บเงินได้

ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ ก็หนีไม่พ้นข้อมูลในงบการเงินซึ่งประกอบด้วย

  • ลูกหนี้การค้าเฉลี่ยต้นงวดและปลายงวด เราเอามาจากงบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล)
  • รายได้รวม เราเอามาจากงบกำไรขาดทุน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากิจการมีลูกหนี้การค้า ณ ต้นเดือนเท่ากับ 25,000 บาท และปลายเดือนเท่ากับ 45,000 บาท ในขณะที่รายได้รวมต่อเดือนเท่ากับ 67,000 บาท จะคำนวณระยะเวลาในการจัดเก็บหนี้ =    ((25,000 +45,000)/2/67,000) *365

=    191 วัน

ใครเป็นเจ้าของกิจการตามตัวอย่างนี้ คงจะสะดุ้งโหยงแน่นอน เพราะจากตัวเลขระยะเวลาการเก็บเงินคำนวณได้ 191 วัน หมายถึง หลังจากส่งสินค้าแล้ว ต้องรออีกกว่า 191 วัน ถึงจะได้รับเงิน

อีกนัยหนึ่ง มันบ่งบอกว่า แม้จะมีรายได้มาก แต่ว่ากิจการก็ยังมีลูกหนี้คงค้างเหลืออยู่เยอะมากเหมือนกัน พอลูกหนี้หมุนเป็นเงินสดได้ไม่เร็วพอ ทำให้จำนวนวันในการเก็บหนี้สูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น

พอคำนวณระยะการเก็บหนี้เป็นแล้ว ก็คงพอมองออกว่าปัญหาเราเกิดจากตรงไหน

และโจทย์ถัดไปที่ผู้ประกอบการต้องคิด คือ ทำอย่างไรจึงจะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เร็วขึ้น

ปรึกษาปัญหาบัญชีธุรกิจ หาโปรแกรมบัญชีที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ ติดต่อ

Line: @zerotoprofit หรือhttps://lin.ee/36U1ks0Y

ติดตาม Zero to Profit ช่องทางอื่นได้ที่

Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/

Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit

ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บบล็อก Zero to Profit ที่อยากให้เรื่องบัญชีเป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัวสำหรับเจ้าของธุรกิจ