ให้กู้หรือถือหุ้น แตกต่างกันอย่างไร?

ให้กู้หรือถือหุ้น แตกต่างกันอย่างไร?

ให้กู้หรือถือหุ้น แตกต่างกันอย่างไร?

สรุปข้อแตกต่างระหว่างการให้บริษัทกู้ หรือเป็นผู้ถือหุ้น ให้ทุกคนเข้าใจใน 5 ข้อ ก่อนตัดสินใจลงทุน

การลงทุนในบริษัท มีตัวเลือกในการลงทุนหลักๆ 2 แบบ คือ การให้บริษัทกู้เงิน หรือ อีกแบบนึงคือ การไปถือหุ้นในบริษัท 

ทีนี้ตัวเลือกทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง Zero to Profit สรุปให้ทุกคนเข้าใจง่ายๆ 5 ข้อตามนี้

1.สถานะ 

ให้กู้ = เจ้าของเงินกู้จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้บริษัท

ถือหุ้น = เจ้าของเงินลงทุนมีสถานะเป็นเจ้าของร่วมในบริษัท (ร่วมกับผู้ถือหุ้นคนอื่น)

2.อำนาจบริหาร

ให้กู้ = เจ้าหนี้เงินกู้จะไม่มีอำนาจใดๆ ในการบริหารจัดการบริษัท 

ถือหุ้น = เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นจะมีอำนาจในการบริหารจัดการบริษัทผ่านวิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุม และหากมีจำนวนหุ้นที่ถือมากก็ย่อมมีอำนาจบริหารจัดการมากไปตามๆ กัน

3.ผลตอบแทน

ให้กู้ = ผลตอบแทนการให้กู้ยืม คือ ดอกเบี้ยที่ได้รับตามแต่จะตกลง 

ถือหุ้น = ผลตอบแทนการเป็นผู้ถือหุ้น คือ เงินปันผล 

4.จำนวนผลตอบแทน

ให้กู้ = ดอกเบี้ยที่ได้รับจะได้รับอย่างสม่ำเสมอ คงที่ทุกๆ เดือนตามอัตราที่ตกลง 

ถือหุ้น = เงินปันผล จะได้รับก็ต่อเมื่อบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงาน มากน้อยจะขึ้นอยู่กับจำนวนกำไรของบริษัท และจำนวนหุ้นที่เราถืออยู่

5.ความเสี่ยง

ให้กู้ = ผู้ให้กู้มีความเสี่ยงต่ำว่า ผู้ถือหุ้น เพราะหากบริษัทขาดทุนผู้ให้กู้ก็ยังต้องได้รับเงินต้นคืนเต็มจำนวน

ถือหุ้น = ผู้ถือหุ้นมีความเสี่ยงมากกว่ากรณีที่บริษัทขาดทุนจะไม่ได้รับเงินปันผล เงินส่วนที่ลงทุนไปอาจจะเหลือไม่เต็มจำนวน

โดยสรุปแล้วการลงทุนแบบให้กู้ ผลตอบแทนจะได้รับสม่ำเสมอในรูปดอกเบี้ย และความเสี่ยงไม่สูง แต่มีข้อเสียคือ จะไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการ

แต่ถ้าลงทุนในการถือหุ้น เจ้าของหุ้นจะมีอำนาจในการบริหารจัดการบริหาร ผลตอบแทนจะสูงต่ำตามผลกำไรของบริษัท แต่ข้อเสียคือ ความเสี่ยงมากกว่าการให้กู้ 

พอจะทราบความแตกต่างแล้ว ลองคิดไตร่ตรองดีๆ ว่าลงทุนแบบไหนเหมาะกับเราที่สุด ก่อนจะตัดสินใจลงไป 

เพราะทุกการตัดสินใจ หมายถึง ผลตอบแทน และความเสี่ยงที่ได้รับที่แตกต่างกันนั่นเอง

ปรึกษาปัญหาบัญชีธุรกิจ หาโปรแกรมบัญชีที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ ติดต่อ

Line: @zerotoprofit หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y

ติดตาม Zero to Profit ช่องทางอื่นได้ที่

Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/

Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit

ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บบล็อก Zero to Profit ที่อยากให้เรื่องบัญชีเป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัวสำหรับเจ้าของธุรกิจ