กว่าจะหาเงินได้แต่ละบาทนั้นช่างยากเหลือเกิน แต่ทว่าการเก็บเงินไว้ไม่ให้รั่วไหล นั้นอาจจะยากยิ่งกว่า ถ้าเราไม่วางระบบให้รัดกุมเพียงพอ
เพื่อนๆ ที่ทำธุรกิจกำลังมีปัญหานี้อยู่ไหมคะ “หาเงินได้เยอะ แต่ก็เก็บเงินไม่อยู่” ถ้าใช่ ทุกคนควรศึกษาเรื่องนี้ให้ดีๆ เลยค่ะ
เพราะวันนี้ Zero to Profit จะชวนทุกคนมาทำความเข้าใจวิธีเช็กการจ่ายเงินให้อยู่หมัด กำจัดเงินรั่วไหลออกจากธุรกิจค่ะ
ก่อนจ่ายเงิน เช็กแบบนี้ เงินไม่หนีไปไหนแน่นอน
1. เช็กก่อนจ่าย
ขั้นตอนแรก เช็กให้ดีก่อนจ่ายเงิน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการป้องกันการจ่ายเงินออกไปโดยไม่ถูกต้อง
สิ่งที่เราต้องเช็คคู่กันมี 2 สิ่งอย่างน้อยๆ
- ใบแจ้งหนี้ (บางทีซัพพลายเออร์ส่งมาพร้อมกับใบส่งสินค้า/ใบกำกับภาษีค่ะ)
- สินค้าหรือบริการที่ได้รับ
ทุกครั้งก่อนกดจ่ายชำระเงิน เช็กให้ดีนะคะว่าเราได้ของมาหรือยัง หรือว่าได้รับบริการนั้นจริงๆ หรือยัง เพราะในบางครั้งเราเห็นใบแจ้งหนี้ส่งมาก็ชำระเงินทันที โดยไม่ตรวจดูให้ดีเสียก่อน
เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ กับกิจการที่เจ้าของธุรกิจมอบหมายหน้าที่ให้เสมียณ หรือว่าทีมงานเป็นคนจัดการ เพราะพวกเค้าเหล่านั้นอาจไม่รู้ว่าสินค้าและบริการนี้ ได้รับเข้ามาจริงในกิจการหรือไม่
ทางที่ดี เราควรกำชับทีมงานว่าให้ตรวจเช็ค ข้อมูลในใบแจ้งหนี้ ว่า 1) ได้รับสินค้าจริง ปริมาณตรงกับใบแจ้งหนี้แล้ว 2) มูลค่าเงินตรงกับที่ตกลงกันไว้ ในสัญญา หรือว่าเสนอราคาที่จัดทำตั้งแต่แรกแล้ว
2. เช็กหลังจ่าย
ขั้นตอนถัดมา หลังจากจ่ายเงินไปแล้ว เราเองก็ต้องเช็กเหมือนกันค่ะ ว่า
- ซัพพลายเออร์ให้ “ใบเสร็จรับเงิน” กลับมาจริงหรือไม่
- จำนวนเงินออกจาก “Bank Statement” ตรงกันหรือเปล่า
ในปัจจุบันมิจฉาชีพก็แฝงตัวมาในหลายรูปแบบ แม้ว่าเราจะจ่ายเงินออกไปแล้วจริงตามใบแจ้งหนี้ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเงินนั้นไปถึงมือซัพพลายเออร์เราจริง
เอกสาร “ใบเสร็จรับเงิน” และ “Bank Statement” จึงสำคัญมากๆ สำหรับธุรกิจค่ะ เพื่อให้เรามั่นใจว่าภาระหนี้ของเราหมดกันแล้ว ทุกครั้งที่จ่ายเงินอย่าลืมขอใบเสร็จรับเงินมาด้วยค่ะ และทุกๆ สิ้นเดือนเมคชัวร์อีกสักรอบว่าเงินได้ออกจาก Bank Statement ไปหาผู้รับเงินปลายทางที่ถูกต้องจริงๆ นะ
3. ภาษียื่นให้ครบ
ยื่นภาษีให้ครบ ทำให้เงินไม่รั่วไหลได้ยังไง ทั้งๆ ที่การยื่นภาษีก็ต้องจ่ายเงินออกไป >> หลายคนคงสงสัยในประเด็นนี้ใช่ไหมคะ
ในความเป็นจริงแล้ว การจ่ายภาษีเป็นหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดค่ะ ถ้าวันนี้มีภาระภาษีที่ต้องจ่าย แล้วเราไม่จ่ายให้เรียบร้อย สุดท้าย เงินอาจรั่วไหลออกไป ในรูปแบบของ “เบี้ยปรับ/เงินเพิ่มทางภาษี” แบบนี้คงไม่ดีแน่ใช่ไหมล่ะคะ
ดังนั้น ในกระบวนการจ่ายเงิน ต้องเช็คให้ดีค่ะว่าเราต้องยื่นภาษี 2 ตัวนี้หรือไม่
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงื่อนไขที่ต้องยื่นเกิดขึ้นเมื่อ กิจการเราจด VAT และซื้อของจากซัพพลายเออร์ที่มี VAT ค่ะ ภาษีซื้อที่เกิด 7% เราจ่ายให้ซัพพลายเออร์แล้ว สุดท้ายตอนสิ้นเดือนอย่าลืมรวบรวมยื่นข้อมูลแก่สรรพากรด้วย ภายใน 15 วันของเดือนถัดไป (อินเตอร์เน็ต 23 วัน)
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ถ้ามีการจ่ายเงินค่าจ้างงาน บริการ หรือค่าเช่า (อันนี้เป็นแค่ตัวอย่างที่เจอกันบ่อยๆ นะคะ จริงๆ มีอีกเยอะเลย) เราจะต้องหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราที่กฎหมายกำหนด เช่น 3% แล้วนำส่งภาษีแก่สรรพากรด้วยนะ ระยะเวลาก็ภายใน 7 วันของเดือนถัดไป (อินเตอร์เน็ต 15 วัน)
ทั้งหมดนี้เป็นขั้นตอน 3 Step เช็กการจ่ายเงินแบบง่าย ตั้งแต่ต้นจนจน ถ้าทำตามแล้ว รับรองว่าเงินไม่รั่วไหลแน่
ขอบคุณ ภาพตัวอย่างใบแจ้งหนี้และใบเสร็จรับเงินจาก Flowaccount และตัวอย่าง Bank Statement จาก KBank ค่ะ
อะไรอะไรก็แพง ตั้งแต่ข้าวแกงยันน้ำมันแล้วเจ้าของธุรกิจเอง จะสู้กับรายจ่ายที่แพงขึ้นทุกวันได้อย่างไร เมื่อสู้ไปเท่าไร..รายจ่ายก็สู้กลับทุกที ไม่ต้องกังวลใจไป Zero to Profit มีวิธีวางแผนรายจ่ายดีๆ มาแนะนำกัน จ่ายเงินธุรกิจต้องวางแผนอะไรบ้าง ?
เงินไม่หาย จ่ายเป็นระบบ ปรึกษาเราได้ที่นี่
Line: @zerotoprofit หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Website: https://zerotoprofit.co
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit
#zerotoprofit #จ่ายเงิน