การจัดการเรื่องภาษีเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับเราทุกคนที่มีรายได้ค่ะ โดยเฉพาะคนที่ทำงานอิสระ หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัว
เพราะการรับเงินจากลูกค้าในค่าบริการนั้น ต้องมาพร้อมกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย และสิ่งที่ต้องได้รับกลับมาเสมอ ก็คือ หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย
หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย เป็นอีกหนึ่งเอกสารสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเอกสารนี้ไม่เพียงแต่ยืนยันว่าภาษีถูกหักจริง และนำส่งแล้ว แต่ยังจำเป็นในการยื่นภาษีประจำปีอีกด้วยนะคะ ถ้าไม่ได้ใบหักภาษี ณ ที่จ่ายนี้มา แย่แน่เลย เราอาจจะยื่นภาษีผิดเลยก็ได้นะ
แล้วถ้าทำงานได้รับเงิน แต่ไม่ได้ใบหัก ณ ที่จ่าย ต้องทำอย่างไร ในวันนี้เรามีคำตอบและทางออกให้เพื่อนๆ ทุกคนค่า
หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร
หนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นเอกสารที่ผู้จ่ายเงิน มีหน้าที่ต้องจัดทำให้กับผู้รับเงิน กรณีที่จ่ายค่าบริการ เช่น ค่าจ้างทำของ ค่าเช่า ค่าขนส่ง เพื่อยืนยันว่าได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจริง และนำส่งภาษีแทนผู้รับเงินแล้วค่ะ
เอกสารนี้สำคัญมากๆ เพราะใช้ในการยื่นภาษีประจำปี เพื่อขอคืนภาษี หรือใช้ในการพิสูจน์ว่าเคยมีการเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมายแล้วนั่นเอง
คนส่วนใหญ่เลยเรียกกันติดปากว่า หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายต้องนำไปใช้เครดิตภาษีตอนปลายปีนะ
ยกตัวอย่างการคำนวณ เช่น
บริษัท เอ จำกัด (ไม่จด VAT) รับจ้างออกแบบการตกแต่งภายใน จากบริษัท Zero to Profit จำกัด ค่าจ้างออกแบบ จำนวน 100,000 บาท
นายเอจะได้รับเงินเท่าไหร่ และโดนหัก ภาษี ณ ที่จ่ายเท่าไหร่มาดูกัน
ค่าบริการ | 100,000 บาท |
หัก ณ ที่จ่าย 3% ถูกนำส่งสรรพากร | 3,000 บาท (100,000×3%) |
ยอดที่ต้องจ่ายเป็นเงินสดให้บริษัท เอ จำกัด | 970,000 บาท (100,000-3,000) |
หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายบริษัท Zero to Profit จำกัด ต้องออกให้บริษัท เอ จำกัด | ระบุข้อมูล : เงินได้ 100,000 บาท หัก ณ ที่จ่าย 3,000 บาท |
สงสัยกันไหมคะ ถ้าบริษัท เอ จำกัด จด VAT ขึ้นมาล่ะ แล้วจะต้องได้รับเงินเท่าไหร่นะ
ค่าบริการ | 100,000 บาท |
บวก VAT | 7,000 บาท (100,000×7%) |
หัก ณ ที่จ่าย 3% ถูกนำส่งสรรพากร | 3,000 บาท (100,000×3%) |
ยอดที่ต้องจ่ายเป็นเงินสดให้บริษัท เอ จำกัด | 104,000 บาท (100,000+7,000-3,000) |
หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายบริษัท Zero to Profit จำกัด ต้องออกให้บริษัท เอ จำกัด | ระบุข้อมูล : เงินได้ 100,000 บาท หัก ณ ที่จ่าย 3,000 บาท |
หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายจะได้รับเมื่อไหร่
โดยปกติผู้จ่ายเงินจะต้องให้หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายทันทีเมื่อมีการจ่ายเงิน แต่ถ้า ไม่ได้หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ทันที ควรขอเป็นไฟล์ PDF หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นทางเลือกที่สะดวก และถูกต้องตามกฎหมาย คือ ได้รับการรับรองจากหน่วยงานรัฐ ให้สามารถใช้เอกสารรูปแบบนี้ได้
อย่างไรก็ตาม หากเป็นการรับเงินหน้างาน เช่น งานบริการ ให้เช่า บริษัทขนส่ง ควรขอให้ผู้จ่ายนำใบหัก ณ ที่จ่ายมาด้วย เพื่อแลกกับการออกเอกสาร เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีค่ะ
หรือถ้าบริษัทไหนเริ่มหันมาใช้ E-withholding tax กันแล้วก็แจ๋วเลย ได้รับการลดอัตราภาษี และดูการหัก ณ ที่จ่ายออนไลน์ได้ด้วยนะ
อยากใช้ระบบ E-withholding tax ทำยังไง ดูที่นี่เลย
หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายสำคัญอย่างไร?
หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย มีความสำคัญอย่างมากในการยื่นภาษี หากเราถูกหักภาษี แต่ไม่ได้หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย จะไม่สามารถใช้เครดิตภาษีในการยื่นขอคืนภาษีได้ และยังอาจมีปัญหาเมื่อสรรพากรต้องการตรวจสอบเอกสาร
ดังนั้น การมีหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
1. ยืนยันความบริสุทธิ์ใจ
หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย ทำหน้าที่ในการยืนยันว่าผู้จ่ายเงินได้หักภาษีจริงตามกฎหมาย และนำส่งให้สรรพากรเรียบร้อยแล้ว ซึ่งช่วยยืนยันความบริสุทธิ์ใจของทั้งผู้จ่ายและผู้รับเงินว่าไม่มีการหลีกเลี่ยงภาษี
2. ใช้เครดิตภาษีตอนสิ้นปี
หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายมีบทบาทสำคัญในการใช้เครดิตภาษีตอนสิ้นปี หากไม่มีเอกสารนี้จะไม่สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีที่ต้องชำระได้ ดังนั้น หากต้องการใช้เครดิตภาษีให้ครบถ้วน เราต้องมั่นใจว่าได้รับหนังสือรับรองนี้ และเก็บรักษาไว้อย่างดี
ถ้าถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้วไม่ได้ใบหัก ณ ที่จ่ายต้องทำยังไง?
หากไม่ได้หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ขั้นแรกควรติดต่อผู้จ่ายเงินเพื่อทวงถามเอกสารค่ะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว พวกเค้าก็น่าจะยินยอมส่งเอกสารให้แต่โดยดี ถ้ารู้เรื่องกฎหมายการหัก ณ ที่จ่ายนี้
หรือถ้าผู้จ่ายเงินบ่ายเบี่ยง เราสามารถอธิบายว่าเราจะขอคืนภาษีและต้องมีเอกสารนี้ และจะมีปัญหาถึงลูกค้าถ้าไม่ได้รับเอกสาร
หรือบางทีเราต้องใช้วิธีเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้เอกสารมา เช่น อาจพูดคุยขอแลกเปลี่ยนเอกสารใบเสร็จรับเงินกับหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
ทำใบหัก ณ ที่จ่ายที่ได้มาแล้วหายทำอย่างไร
หากใบหัก ณ ที่จ่ายที่คุณได้รับมาแล้วหายไป ขั้นแรกควรติดต่อผู้จ่ายเงินเพื่อขอ “ใบแทน” เพื่อเป็นหลักฐาน เนื่องจากเป็นหน้าที่ของผู้จ่ายที่จะต้องจัดทำเอกสารให้กับเรา โดย
- ถ่ายเอกสารจากสำเนาคู่ฉบับ หรือพิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์ (กรณีที่ใบหัก ณ ที่จ่าย จัดทำขึ้นด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์)
- มีข้อความคำว่า “ใบแทน” ด้านบนเอกสาร
- ลงลายมือชื่อรับรองของผู้ออกเอกสาร
การขอใบใหม่อาจต้องอาศัยระยะเวลาในการเจรจาต่อรอง อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี อาจต้องรับมือกับความยุ่งยากในการขอใบใหม่ จึงควรเก็บรักษาเอกสารนี้ให้ดีตั้งแต่แรก
ดังนั้น การระลึกไว้เสมอว่าถ้าโดนหักตังค์แล้ว ต้องมีหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายแนบมาเสมอ ช่วยให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และมั่นใจได้ว่าเอกสารนั้นส่งถือมือเราอย่างครบถ้วน เครดิตภาษีได้ น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดจ้า
สำหรับคนที่อยากฟังนุชและพี่หนอมพูดคุยกันเรื่อง ไม่ได้ใบหัก ณ ที่จ่ายต้องทำยังไง ไปติดตามต่อกันได้ที่นี่เลยจ้า
บทความอื่นๆ เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (คลิกที่นี่)
เริ่มต้นจดทะเบียนบริษัท รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อ Line: @zerotoprofit
ติดตาม Zero to Profit ช่องทางอื่นได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit