ถามตอบปัญหาสำหรับมือใหม่เจ้าของธุรกิจว่า เมื่อไรเราควรเริ่มจดบริษัทของตัวเองดี ต้องมีเงินกี่บาทถึงจดบริษัทได้ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างก่อนจดบริษัท การจดทะเบียนพาณิชย์และ Vat เป็นเรื่องจำเป็นมั้ย
สำหรับใครที่กำลังสงสัยเรื่องเหล่านี้อยู่ ลองอ่านสรุปคำถาม-คำตอบในโพสนี้ได้เลย
Q: ทำธุรกิจมาสักพัก เมื่อไรควรเริ่มมีบริษัทของตัวเอง
A: คำถามนี้เป็นคำถามยอดฮิตที่เจ้าของธุรกิจสงสัย ส่วนคำตอบนั้นอาจจะไม่มีคำตอบที่ตายตัว แต่ทุกครั้งที่คิดจะจดบริษัทควรจะถามตัวเองก่อนว่ามีความพร้อม 3 เรื่องนี้ครบไหม
1. วัตถุประสงค์พร้อม คือ รู้ว่าเปิดแล้วจะทำอะไร หารายได้จากทางไหน
2. หุ้นส่วนพร้อม คือ รู้ว่าจะให้ใครมาเป็นหุ้นส่วน และจะแบ่งสัดส่วนกันเท่าไรดี เพราะตอนนี้กฎหมายกำหนดว่าขั้นต่ำการจดบริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน
3. เงินทุนพร้อม คือ มีเงินลงทุนขั้นต้นเตรียมไว้สำหรับก่อตั้งบริษัท
การเปิดบริษัทเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของธุรกิจ ถ้าวางแผนไว้ดี มีความพร้อมทั้ง 3 ด้าน ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง
Q: ต้องใช้เงินกี่บาท ถึงจะตั้งบริษัทได้
A: เงินที่ต้องใช้สำหรับการตั้งบริษัทมี 2 ส่วนหลักๆ
ส่วนแรก เป็นเงินทุนจดทะเบียน คือ เงินลงทุนทั้งหมดที่เราคาดว่าจะใช้เริ่มกิจการและหมุนเวียนในช่วงแรก ซึ่งต้องระบุไว้ตอนจดทะเบียน หลักการคิดง่ายๆ คือ ลองคิดว่าเราจะต้องลงทุนตั้งต้นเรื่องอะไรบ้าง และใช้เงินหมุนเวียนเท่าไร และใช้เงินจำนวนนั้นเป็นเงินทุนจดทะเบียน จากนั้นค่อยเรียกเก็บจากผู้ถือหุ้น (กฎหมายระบุขั้นต่ำว่าวันที่จดบริษัทจ่ายที่ขั้นต่ำได้ 25%)
เงินส่วนนี้เป็นเงินของกิจการทั้งหมด เพียงแค่ตอนจดทะเบียนต้องแจ้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยเท่านั้นเอง
ส่วนสอง เงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เราเรียกย่อๆ ว่า DBD อันนี้ขึ้นอยู่กับทุนจดทดเบียน เช่น ถ้าจดทุน 1 ล้านบาทค่าธรรมเนียมจะประมาณ 3500 บาท ถ้าจดแบบออนไลน์ และถ้าไม่ได้ดำเนินการเอง จ้างสำนักงานบัญชีทำให้ก็จะมีค่าดำเนินการส่วนนี้ด้วยแยกต่างหากจำนวน 2000-4000 บาท
เราจะไม่มีวันรู้เลยว่าเงินทุนที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัทเป็นกี่บาท ถ้าเราไม่เคยมีแผนธุรกิจ เหมือนกับการซื้อตั๋วรถไฟฟ้า BTS ถ้าวางแผนไว้ก่อนว่าจะไปสถานีไหน คงเตรียมเงินค่าตั๋วไม่ถูกแน่ๆ ใช่มั้ยล่ะ
Q: How to เตรียมเอกสาร ก่อนตั้งบริษัทของตัวเอง
A: อยากจดบริษัทต้องเตรียมเอกสารพื้นฐานตามนี้
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ถือหุ้นทุกคน
2.แผนที่บริษัท
3.ชื่อสกุล และเลขที่ผู้สอบบัญชี
จากนั้นเลือกเลยว่าจะจดแบบออนไลน์หรือออฟไลน์
ถ้าจดทะเบียนแบบออนไลน์ให้ไปที่ https://ereg.dbd.go.th/ERegistMemberWeb/nonmemberpages/home.xhtml
อาจจะมีขั้นตอนยุ่งยากนิดหน่อยในการยืนยันตัวตน แต่ข้อดีคือ social distancing และค่าธรรมเนียมถูกกว่าแบบ offline 50%
ส่วนการจดแบบออฟไลน์สามารถไปได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลย
จดทะเบียนบริษัท ทำได้ง่ายถ้าเข้าใจวิธีการและเอกสารมีครบ แต่ถ้าใครไม่อยากจดเอง จ้างสำนักงานบัญชีใกล้บ้านทำให้ได้ ด้วยค่าบริการ 2000-4000 ต่างหากจากค่าธรรมเนียม
Q: จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร ต้องรู้อะไรบ้าง
A: จดทะเบียนพาณิชย์ เป็นการจดทะเบียนเพื่อบอกว่าเราจะทำการค้าขาย ไม่สนใจว่าจะอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ถ้าอยู่ในลิสธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ก็จำเป็นต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมาย (ส่วนใหญ่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ทั้งนั้น)
สิ่งที่เจ้าของกิจการมักเข้าใจผิด
- คิดว่าจดบริษัทแล้ว เท่ากับจดทะเบียนพาณิชย์ จริงๆ ไม่ใช่เลย เพราะ การจดทะเบียนบริษัท เป็นการจดทะเบียนเพื่อขอเป็นนิติบุคคลรูปแบบบริษัท เป็นคนละเรื่องกับการจดทะเบียนพาณิชย์
- คิดว่าจด VAT แล้ว เท่ากับจดทะเบียนพาณิชย์ อันนี้ก็คนละเรื่องเพราะ VAT คือ การจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นคนละเรื่องกันกับทะเบียนพาณิชย์
ฉะนั้น ถ้าอยากทำธุรกิจอย่างสบายใจ อย่าลืมไปจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ ที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือฝ่ายปกครองสำนักงานเขต แต่ถ้าอยู่ต่างจังหวัดให้ไปที่เทศบาล หรือ อบต ได้ (ตอนนี้ยังไม่มีแบบออนไลน์นะจ๊ะ)
Q: ทำไมต้อง “จด VAT” เมื่อเปิดบริษัท
A: การจด Vat เป็นการจดทะเบียน เพื่อเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค 7% โดยกฎหมายไม่ได้สนใจว่าเราทำธุรกิจรูปแบบบริษัทหรือบุคคลธรรมดา แต่สิ่งที่กฎหมายสนใจ คือ
1.ธุรกิจมีรายได้จากอะไร: ถ้าไม่ใช่รายได้ที่ได้รับยกเว้น ก็ต้องจด Vat (ถ้าจำนวนรายได้ถึง 1.8 ล้าน) ตัวอย่างรายได้ที่ได้รับยกเว้นเช่น ขายผลิตผลทางการเกษตร ขายสัตว์ อาหารสัตว์ ทำห้องสมุด เป็นต้น
2.ธุรกิจมีรายได้จากอะไร: ถ้าไม่ใช่รายได้ที่ได้รับยกเว้น ก็ต้องจด Vat (ถ้าจำนวนรายได้ถึง 1.8 ล้าน) ตัวอย่างรายได้ที่ได้รับยกเว้นเช่น ขายผลิตผลทางการเกษตร ขายสัตว์ อาหารสัตว์ ทำห้องสมุด เป็นต้น
ถ้าเข้าเงื่อนไข 2 ข้อก็จะต้องจดทะเบียน VAT โดยปริยาย
การจด Vat มาพร้อมกับหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น คือ
1) เรียกเก็บภาษี 7% จากลูกค้าและออกใบกำกับภาษี
2) การทำรายงาน และ
3) ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นประจำทุกๆ เดือน
ถ้ารู้ตัวว่ามีรายได้ถึงเกณฑ์จด VAT ให้รีบไปจดให้เรียบร้อย เพราะคงไม่มีใครอยากหมดกระเป๋าเพราะค่าปรับ 2 เท่าจากภาษีมูลค่าเพิ่มแน่นอน
ปรึกษาปัญหาบัญชีธุรกิจ หาโปรแกรมบัญชีที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ ติดต่อ
Line: @zerotoprofit หรือ https://lin.ee/36U1ks0Y
ติดตาม Zero to Profit ช่องทางอื่นได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit