ขายดีใช่ว่าจะเจ๊งไม่ได้ แล้วร้านที่เคยเจ๊งก็ใช่ว่าจะกลับมาขายดีไม่ได้ เรียกได้ว่า การทำธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ หากประมาทก็สามารถเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้เหมือนกัน เพียงแค่ผลกระทบอาจจะต่างกันออกไป บางรายอาจจะต้องเป็นหนี้ซ้ำ บางรายไม่เจ็บหนัก บางรายอาจถึงขั้นหมดตัว สารพัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ หากทำธุรกิจแบบไม่รอบคอบ ไม่มีความรู้ และละเลยปัญหา
3 ปัจจัยที่ทำให้ร้านขายดี กลับมาเจ๊งได้
หากใครสงสัยว่า ขายดีจนเจ๊ง มันจะเป็นไปได้อย่างไร
ต้องบอกว่าเป็นไปได้ แถมยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆธุรกิจด้วย การขายดีจนเจ๊งนั้นสาเหตุหลักๆคือการบริหารจัดการที่ไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดปัญหาแล้วไม่แก้ มีช่องโหว่วแต่ดันปล่อยผ่าน เกิดความหละหลวมในธุรกิจ เพราะอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย จนถึงขั้นมองเห็นว่า ไม่ทำก็ได้ ไม่น่าจะเป็นอะไร เมื่อมีชุดความคิดเหล่านี้เข้าครอบงำ ร้านที่ขายดีๆก็สามารถตกม้าตายได้ง่ายๆ ง่ายแบบที่ไม่รู้ตัวก็มี เพราะมองข้ามทุกอย่างจนไม่เห็นว่านั่นแหละ คือปัญหา อย่างที่บอกกันตลอดว่า การทำธุรกิจต้องหมั่นตรวจสอบ มีแผนที่ชัดเจน แต่ยืดหยุ่นได้ ต้องปรับได้ตามสถานการณ์ มีแผนสำรองเสมอ เงินในธุรกิจอย่าให้ขาด รอบคอบก่อนลงทุน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราไม่เจ็บหนัก อย่างน้อย เราก็ยังแก้ไขและหาต้นตอของปัญหาเจอ หากวันนั้นพบว่าธุรกิจเกิดปัญหาเข้าแล้ว ทำให้เราแก้ไขได้ทัน ไม่ต้องรอวันเจ๊งแล้วค่อยกลับมาแก้ใหม่ เพราะการเริ่มต้นใหม่มันไม่ง่าย
การขายดี ไม่ใช่แค่นับยอดออเดอร์ว่าวันนี้เข้าเยอะเท่าไหร่ มีคนซื้อไปแล้วกี่คน การขายดีคือดูที่กำไรด้วย หากขายสินได้เยอะ แต่หากำไรไม่เจอ คงไม่ได้เรียกว่าขายดี เรียกว่าขายได้แต่ไม่มีกำไร การต่อยอดก็คงไม่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น ฉะนั้นแล้วมาสังเกตธุรกิจตนเองกันดีกว่าว่า เข้าข่ายขายดีแต่เสี่ยงเจ๊งหรือไม่ ด้วย 3 ปัจจัยหลัก ดังนี้
1.บันทึกบัญชีธุรกิจไม่ละเอียด
ธุรกิจหรือร้านค้าใดที่ไม่ทำบัญชีธุรกิจ บอกได้เลยว่าใช้ชีวิตยากแน่นอน เพราะไม่สามารถเห็นภาพรวมการเงิน กำไร ต้นทุน รายจ่ายต่างๆได้อย่างละเอียดชัดเจน การทำบัญชีธุรกิจมีข้อดีเยอะมาก และทำให้การบริหารจัดการง่ายขึ้นเป็นกอง ควรทำให้ติดเป็นนิสัย ยิ่งละเอียดเท่าไหร่ ยิ่งดีต่อธุรกิจมากเท่านั้น รายละเอียดไม่เยอะเท่ากับการทำบัญชีของนักบัญชี สามารถทำเองได้โดยอาศัยข้อมูลหลักๆ ดังนี้
- วันเดือนปี : วันที่เราการรับเงินหรือจ่ายเงิน ต้องกรอกให้ตรงวัน
- รายการ : ระบุรายละเอียดว่า ได้รับเงินหรือจ่ายเงินเรื่องอะไรบ้าง เมื่อเวลาตรวจเช็คจะได้นึกออก และเข้าใจได้
- รายรับ : เป็นการใส่รายละเอียดจำนวนเงินที่ได้รับเข้ามา เช่น ค่าสินค้าที่เราขายได้
- รายจ่าย : เป็นการใส่รายละเอียดเกี่กยวกับจำนวนเงินที่จ่ายออกไป เช่น ค่าสินค้าที่ซื้อเข้าร้าน
- ยอดรวมรายเดือน : ช่องนี้เหมือนเป็นช่องสรุป สำหรับรวมเงินในแต่ละเดือน ทำให้เราเห็นยอดอย่างชัดเจน
2.ไม่เข้าใจการคำนวณต้นทุนและราคา
อย่าลืมคำนวณต้นทุน และทำราคาขายให้ถูกต้อง หากใครที่ให้คนอื่นทำในส่วนนี้ก็ควรเช็คโดยละเอียด เพราะต้นทุนก็มีแยกย่อยออกไปด้วย ทั้งต้นทุนคงที่ ต้นทุนคงที่คือต้นทุนหลัก ต้นทุนแฝง คือ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าจัดส่ง ค่าบริการเสริมสินค้าต่างๆ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในบางครั้ง เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ บางรายมีต้นทุนที่สูงมาก จนทำให้ไม่กำไรจริงไม่มีเลย ก็ส่งผลให้การขับเคลื่อนธุรกิจเป็นไปได้ยาก
3. ลงทุนหนัก – และขยายเร็วเกินไป
การลงทุนหนักไป เยอะไปก็ส่งผลให้เจ๊งได้ แม้ว่าสินค้านั้นจะขายดีมากๆก็ตาม แต่จำเป็นต้องดูทิศทางด้วย มีหลายคนที่พลาดในส่วนนี้ เพราะเห็นว่าสินค้าขายดีแล้ว ต้องเพิ่มจำนวนให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ การเพิ่มปริมาณหรือจะลงทุนเพิ่ม ควรค่อยขยับๆทีละขั้น อาจจะเริ่มจาก 1 เท่า 2 เท่า 3 เท่าก่อน เพื่อดูว่ายังได้รับความสนใจเช่นเดิมหรือไม่ หากมีแนวโน้มที่ดีการลทุนเพิ่มก็ได้ผลลัพธ์ที่ดีไปด้วย และอย่ามองเพียงกว่า ยิ่งลงทุนเพิ่ม ซื้อปริมาณเยอะจะได้ของถูกลง กำไรก็มากตาม จากข้อความที่กล่าวไปข้างต้น ต่อให้เราจะได้ของที่ถูกลง แต่จังหวะการทำธุรกิจไม่ดี ก็เจ๊งอย่างแน่นอน เพราะเงินไปจมอยู่กับของที่ลงทุนนั่นเอง
อยากรู้ว่าตัวเองแข็งแรงไหม ต้องไปหาหมอเช็คสุขภาพแต่ถ้าอยากรู้ธุรกิจแข็งแรงหรือเปล่า จะไปต่อได้ไหม หรือว่าเจ๊งแน่นอน เราจะเช็คได้อย่างไร?วิธีเช็คสุขภาพธุรกิจว่ายังอยู่ดีหรือพรุ่งนี้เจ๊งแน่นอน ทำได้ง่ายๆ ด้วยการเช็คอาการ 4 ข้อนี้ เช็ค 4 ข้อนี้ รู้เลยธุรกิจไปต่อหรือรอวันเจ๊ง
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit