ทำธุรกิจอาหารใครว่าไม่เจอปัญหาเรื่องงบประมาณ ต้องบอกตามตรงว่าการทำธุรกิจอาหารนั้นเป็นอีกธุรกิจที่พบเจอปัญหาเรื่องการบานปลายเรื่องงบประมาณมากที่สุดอีกธุรกิจหนึ่ง ไม่ว่าจะขนาดเล็ก กลางใหญ่ ย่อมจะเจอปัญหานี้กันแทบทั้งนั้น หากวางระบบไม่ดี ไม่มีการตรวจตราที่รอบคอบ แน่นอนว่าการเงินในธุรกิจจะมีปัญหา และอาจจะกระทบไปในระยะยาวได้ เพราะปัจจัยเหล่านี้มีการควบคุมที่ค่อนข้างยาก หากปล่อยละเลยเป็นเวลานาน การแก้ปัญหาให้กลับเข้าสู่โหมดปกติก็เป็นเรื่องที่ต้องแก้กันยาวๆ เช่นกัน
และจะรู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจเรากำลังเจอปัญหานี้ สิ่งที่สามารถดูได้อย่างง่ายๆคือ รายจ่ายสูงเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ การเงินในธุรกิจติดขัด ระบบในธุรกิจเริ่มไม่เหมือนเดิม มีปัญหาเพิ่มมากขึ้นๆ หากเจออย่างใดอย่างหนึ่งก็ควรเริ่มจัดการตั้งแต่เนิ่นๆ และตรวจสอบโดยละเอียด เพื่อป้องกันการตกหล่นและสร้างปัญหาสะสม ซึ่งปัญหาใหญ่ๆที่เจอกันบ่อยๆ
3 ปัญหางบประมาณบานปลายของธุรกิจอาหาร
1. ควบคุมปริมาณวัตถุดิบไม่ได้
ในส่วนของการควบคุมปริมาณวัตถุดิบนั้น ยิ่งร้านอาหารอาจจะต้องควบคุมกันเป็นจานต่อจาน ข้อดีของการควบคุมวัตถุดิบจานต่อจานคือจะได้รสชาติที่สม่ำเสมอ และมีความเสถียรในการปรุง ต่อมาในแง่ของงบประมาณปละปริมาณคือจะทำให้งบไม่ออกทะเล หากเราปรุงโดยที่ไม่มีการกะปริมาณ หรือการจำกัดจำนวนการใส่ การชั่งตวง ก็จะทำให้แต่ละจานได้รับปริมาณไม่กัน บางจานอาจจะขาดทุน บางจานได้กำไร หากขาดทุนบ่อยๆก็ไม่ส่งผลดีต่อธุรกิจ อีกทั้งยังส่งผลไปยังสต็อกสินค้าของร้าน อาจจะหมดก่อนกำหนด ต้องสั่งใหม่เร็วกว่าเวลาปกติ นั่นหมายความว่าการควบคุมปริมาณมีผลมากกว่าที่คิด หลายคนมักจะคาดไม่ถึงเพราะเปรียบเสมือนว่าเป็นปัญหาแฝงที่หาตัวจับยากนั่นเอง หากไม่ลงไปตรวจสอบ ไม่มีการวางแผนระบบส่วนนี้ ก็คาดเดาได้ยากว่า ส่วนนี้คือปัญหาจริงๆ
2. ไม่จัดการระบบสต็อก
สต็อกถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจของการทำธุรกิจ หากมีสินค้าที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ก็ส่งผลให้เราสามารถทำการขายและสร้างกำไรได้ แต่หากสต็อกไม่เพียงพอ ก็ทำให้ไม่สามารถขายสินค้าให้กับลูกค้าได้ อีกทั้งในส่วนของการที่ทำสต็อกสินค้าที่กักตุนมากเกินจำเป็น อาจจะทำให้งบประมาณบานปลาย หากสิ่งของยังไม่รีบใช้ หรือมีอายุการใช้งานที่สั้น ควรซื้อเท่าที่ใช้และกันไว้เผื่อขาดฉุกเฉินเล็กน้อยก็จะช่วยให้เราไม่ต้องนำเงินไปจมกับส่วนนี้ อีกทั้งการทำสต็อกอย่างเป็นระบบ คอยเช็คเรื่องของอัตราส่วนต่างๆ เช็คราคาต้นทุนวัตถุดิบอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้รู้ว่าช่วงนี้มีการปรับ เพิ่ม ลด ราคาอย่างไรบ้าง เพื่อให้เราเท่าทันเรื่องของราคาในท้องตลาด และจัดการต่อได้ง่าย งบไม่บานปลาย ไม่ต้องจ่ายไปแบบเสียเปล่า
3. ระบบบัญชีไม่ดี
ระบบบัญชีเป็นอีกเรื่องที่ละเลยไม่ได้ ไม่ว่าจะในส่วนของข้อมูลตัวเลข ต้นทุน กำไร รายจ่าย งบประมาณ ค่ายใช้จ่ายจำเป็นภายในธุรกิจ จะต้องรู้ทุกรายละเอียด เข้าใจหลักการบัญชีที่แท้จริง และต้องมีข้อมูลที่เที่ยงตรง ตรวจสอบได้ หลายคนมักจะมองข้ามเพราะมีรายละเอียดที่ค่อนข้างวุ่นวาย จึงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพนักงานภายในร้าน หรือพนักงานบัญชี ในความเป็นจริงแล้ว ต่อให้เราจะมีการว่าจ้างบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการทำงานส่วนนี้แล้ว ก็ควรเช็คให้รอบคอบ แต่หากใครที่ยังทำบัญชีเอง จำเป็นต้องเข้าใจค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทก่อน มีความรู้ทางด้านการเงินในธุรกิจ ตรวจสอบเป็น วิเคราะห์ได้ เพื่อไม่ให้พลาดทุกๆขั้นตอน ข้อดีของการทำบัญชีธุรกิจอย่างถูกต้องและละเอียดรอบคอบคือ อนาคตหากวางแผนกู้ยืมธนาคารก็สามารถทำได้อย่างราบรื่น ง่ายต่อการต่อยอด
วิธีรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น
อย่างแรกต้องมีการแก้ปัญหาให้ถูกจุด และเตรียมวางแผนจัดทำระบบใหม่ที่รัดกุมกว่าเดิม และต้องหมั่นตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน เพื่อเป็นการรีเช็คว่าจะไม่เกิดปัญหาแบบเดิมขึ้นอีก พยายามให้ความรู้กับบุคคลากรในธุรกิจของเราด้วยก็จะเป็นการดี เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าใจทุกกระบวนการ เล็งเห็นความสำคัญ มีความเข้าอกเข้าใจในตัวผู้ประกอบการด้วย เพราะบุคคลากรบางราย อาจจะไม่ได้มีมุมมองเดียวกันกับผู้ประกอบการ ทำให้ไม่ได้คำนึงถึงต้นทุน กำไร หรือภาวะขาดทุน ฉะนั้นแล้วหากต้องการให้ธุรกิจสามารถเดินต่อไปได้ การมีจุดร่วมและสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน ก็จะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่ทำให้ธุรกิจราบรื่นมากขึ้น ควบคุมง่าย เกิดปัญหาสามารถแก้ไขได้ทัน อยู่ได้อย่างเข้าอกเข้าใจและยั่งยืน
การวางแผนในเรื่องเงินทุนอย่างรัดกุม ป้องกันการขาดทุนและความเสียหายทางการเงินในอนาคต ส่วนใครที่สนใจอยากจะพัฒนาให้ธุรกิจอาหารมีความพิเศษมากขึ้น ต้องลองทำตาม 5 ข้อนี้ 5 ไอเดียครีเอทธุรกิจอาหารให้กำไรงอกเงย
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
Facebook: https://facebook.com/ZerotoprofitTH/
Blockdit: https://www.blockdit.com/zerotoprofit